No student devices needed. Know more
10 questions
นักเรียนนำสไลด์ตัวอย่างที่เก็บในกล่องสไลด์ตัวอย่างพืช มาศึกษาส่วนประกอบของเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ แล้วบันทึกผล ดังตัวอย่าง
สไลด์ตัวอย่าง A และ B
สไลด์ตัวอย่าง A และ C
สไลด์ตัวอย่าง B และ D
สไลด์ตัวอย่าง C เท่านั้น
จัดชุดการทดลองเพื่อศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยนำพืชใส่ไว้ในกรวยแก้วแล้วคว่ำลงในบีกเกอร์ แล้วนำหลอดทดลองที่มีน้ำเต็มหลอดครอบกรวยแก้วไว้ จากนั้นใช้โคมไฟส่องไปยังชุดการทดลองเป็นเวลา 20 นาที พบว่ามีฟองแก๊สเกิดขึ้นภายในหลอดทดลองที่มีน้ำเต็ม ดังภาพ
หากต้องการศึกษาเพิ่มเติมว่า "ความเข้มของแสงส่งผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชหรือไม่" ควรปรับชุดการทดลองและเปรียบเทียบผลการทดลองนี้อย่างไร
เพิ่มปริมาณน้ำในบีกเกอร์ แล้วเปรียบเทียบจำนวนฟองแก๊สออกซิเจนที่เกิดขึ้น
เพิ่มความสว่างของหลอดไฟ แล้วเปรียบเทียบจำนวนฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น
เพิ่มจำนวนของพืชน้ำที่ใช้ แล้วเปรียบเทียบจำนวนฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น
เพิ่มระยะห่างระหว่างบีกเกอร์กับหลอดไฟ แล้วเปรียบเทียบจำนวนฟองแก๊สออกซิเจนที่เกิดขึ้น
จัดการชุดทดลอง 2 ชุดเพื่อศึกษาการลำเลียงน้ำของพืช โดยนำพืชชนิดหนึ่งที่มีขนาด อายุ และจำนวนใบเท่ากัน แช่ในกระบอกตวงที่มีปริมาตร 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร และเติมน้ำมันพืชปริมาตร 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในแต่ละชุดการทดลองเพื่อป้องกันไม่ให้มีการระเหยที่ผิวน้ำดังภาพ แล้วนำชุดการทดลองที่ 1 และ 2 ไปวางไว้ในบริเวณ A และ B ที่มีความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิต่างกัน โดยมีปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เหมือนกัน เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง สังเกตระดับน้ำในกระบอกตวง แล้วบันทึกปริมาตรน้ำหลังการทดลอง ได้ผลดังตาราง
บริเวณ A เพราะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงและมีอุณหภูมิต่ำ
บริเวณ A เพราะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำและมีอุณหภูมิสูง
บริเวณ B เพราะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงและมีอุณหภูมิต่ำ
บริเวณ B เพราะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำและมีอุณหภูมิสูง
ภาพแสดงผลของพืชชนิดหนึ่ง เป็นดังนี้
จากภาพข้อใดถูกต้อง
ส่วน A เจริญมาจากรังไข่
ส่วน A มีเอมบริโออยู่ภายใน
ผลของพืชชนิดนี้เจริญมาจากออวุล
พืชต้นใหม่ที่เกิดจากส่วน A จะมีพันธุกรรมเหมือนเดิมเสมอ
ต้นกาบหอยแครงเป็นพืชที่สามารถดักจับกินแมลง โดยใบมีลักษณะเป็นแผ่นสองแผ่นคู่กัน เมื่อแมลงบินเข้ามาชน แผ่นใบจะประกบเข้าหากันเพื่อไม่ให้แมลงหลุดออกไปได้
การตอบสนองของพืชในข้อใด มีสิ่งเร้าแบบเดียวกับต้นกาบหอยแครง
การเลื้อยพันหลักของตำลึง
การผลิใบของต้นไม้เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน
การหุบของใบมะขามในตอนกลางคืน
การบานของดอกคุณนายตื่นสายในตอนเช้า
นักเรียนกลุ่มหนึ่งได้ค้นคว้าบทความเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบของฝุ่นละออง PM 2.5 ในหนูทดลอง พบว่าฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลให้ถุงลมปอดบางส่วนของหนูทดลองถูกทำลาย และหนูทดลองจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ปอดลดลง จำนวนแบคทีเรียที่ปอดจึงเพิ่มขึ้น
นักเรียนแต่ละคนจึงวิเคราะห์และอภิปรายผลกระทบของฝุ่นละออง PM 2.5 ในหนูทดลอง เพื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายมนุษย์ ดังนี้
นักเรียน ก "ฝุ่นละออง PM 2.5 ทำให้เป็นภูมิแก้ เพราะจำนวนเม็ดเลือดขาวในหลอดเลือดที่ปอดลดลง"
นักเรียน ข "ฝุ่นละออง PM 2.5 ทำให้การแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดน้อยลง เพราะถุงลมปอดถูกทำลาย"
นักเรียน ค "ฝุ่นละออง PM 2.5 ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น เพราะถุงลมปอดถูกทำลาย"
จากข้อมูล นักเรียนคนใดเสนอผลกระทบของฝุ่นละออง PM 2.5 ที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายมนุษย์ได้ถูกต้อง
นักเรียน ก เท่านั้น
นักเรียน ข เท่านั้น
นักเรียน ก และ ค
นักเรียน ข และ ค
ผลการทดสอบสารอาหารใรอาหาร 4 ชนิด เป็นดังตาราง
ข้อใดกล่าวถึงการรับประทานอาหารแต่ละชนิดได้ถูกต้อง
การรับประทานอาหารชนิด A จะได้รับสารอาหารประเภทโปรตีน
การรับประทานอาหารชนิด B จะไม่ได้รับน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
การรับประทานอาหารชนิด C จะได้รับสารอาหารประเภทที่ให้พลังงานต่อหน่วยสูงสุด
การรับประทานอาหารชนิด D จะไม่ได้รับแป้งและไขมัน
เกษตรกรนำต้นถั่วชนิดหนึ่งที่มีเมล็ดสีเหลืองมาผสมพันธุ์กับต้นถั่วที่มีเมล็ดสีเขียว โดยใช้รุ่นพ่อแม่จำนวน 2 คู่ ทำให้ได้ต้นถั่วรุ่นลูกที่มีลักษณะสีของเมล็ด ดังตาราง
หากนำต้นถั่วรุ่นลูกที่มีเมล็ดสีเหลืองที่ได้จากต้นถั่วรุ่นพ่อแม่คู่ที่ 1 และ 2 มาผสมพันธุ์กัน จะได้ต้นถั่วที่มีลักษณะอย่างไร
ต้นถั่วจะมีเมล็ดสีเขียวทั้งหมด
ต้นถั่วจะมีเมล็ดสีเหลืองทั้งหมด
ต้นถั่วจะมีเมล็ดสีเหลืองและเมล็ดสีเขียว ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1
ต้นถั่วจะมีเมล็ดสีเหลืองและเมล็ดสีเขียว ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1
แผนภาพแสดงวัฏจักรของคาร์บอน เป็นดังนี้
จากแผนภาพ ข้อใดกล่าวถึงปริมาณแก๊สในบรรยากาศได้ถูกต้อง
กระบวนการ A ทำให้ปริมาณแก๊ส O2 และ CO2 เพิ่มขึ้น
กระบวนการ A ทำให้ปริมาณแก๊ส O2 เพิ่มขึ้น แต่ CO2 ลดลง
กระบวนการ B ทำให้ปริมาณแก๊ส O2 และ CO2 ลดลง
กระบวนการ B ทำให้ปริมาณแก๊ส O2 เพิ่มขึ้น แต่ CO2 ลดลง
วิธีการกำจัดขยะของครัวเรือนในชุมชนหนึ่งมีทั้งการทิ้งตามที่สาธารณะ การทิ้งลงแม่น้ำ และการฝังกลบ ซึ่งต่อมาพบว่า วิธีการเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษในชุมชนตามมา
ขอใดไม่ใช่ปัญหามลพิษที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการกำจัดขยะของครัวเรือนในชุมชนนี้
ปัญหาโรคทางเดินหารใจจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพและเกิดการสะสมสารเคมีในโซ่อาหาร
ปัญหาการเน่าเสียของแหล่งน้ำส่งผลให้ปริมาณของสัตว์น้ำลดลง
ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนเนื่องจากน้ำไหลซึมผ่านกองขยะในที่สาธารณะ
Explore all questions with a free account