No student devices needed. Know more
135 questions
ข้อใดจำแนกประเภทของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ดีเซลได้ถูกต้อง
ก. ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่และชิ้นส่วนที่ไม่เคลื่อนที่
ข. ชิ้นส่วนโลหะและชิ้นส่วนอโลหะ
ค. ชิ้นส่วนภายในและชิ้นส่วนรอบนอก
ง. ชิ้นส่วนโลหะและชิ้นส่วนอัลลอยด์
ข้อใดคือชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ของเครื่องยนต์
ก. เสื้อสูบ
ข. ฝาสูบ
ค. ลูกสูบ
ง. กระบอกสูบ
ข้อใดคือชิ้นส่วนที่ไม่เคลื่อนที่ของเครื่องยนต์
ก. สลักก้านสูบ
ข. กระบอกสูบ
ค. ลูกสูบ
ง. ฝาสูบ
เสื้อสูบเครื่องยนต์ดีเซลทำจากโลหะชนิดใด
ก. เหล็กหล่อ
ข. อะลูมิเนียมอัลลอยด์
ค. โลหะผสม
ง. เหล็กผสมทองแดง
ข้อใดเป็นส่วนประกอบของเสื้อสูบ
ก. ช่องทางน้ำหล่อเย็น
ข. ช่องติดตั้งหัวฉีด
ค. ช่องติดตั้งหัวเผา
ง. ช่องทางไอดีไอเสีย
ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของฝาสูบ
ก. ห้องเผาไหม้
ข. ช่องทางน้ำหล่อเย็น
ค. ปลอกสูบ
ง. ช่องทางไอดีไอเสีย
ข้อใดไม่ใช่วัสดุที่ใช้ทำเพลาข้อเหวี่ยง
ก. เหล็กหล่อคาร์บอนโมลิบดินั่ม
ข. เหล็กกล้าโครเมียม
ค. เหล็กกล้าโครเมียมโมลิบดินั่ม
ง. เหล็กกล้าคาร์บอน
ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของเพลาข้อเหวี่ยงได้ถูกต้อง
ก. เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของเพลาลูกเบี้ยว
ข. เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกสูบให้เป็นการหมุนแบบวงกลม
ค. รับกำลังงานจากการเผาไหม้
ง. รองรับแบริ่ง
ก. เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของเพลาลูกเบี้ยว
ข. เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกสูบให้เป็นการหมุนแบบวงกลม
ค. รับกำลังงานจากการเผาไหม้
ง. รองรับแบริ่ง
ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของแบริ่งกันรุนไม่ถูกต้อง
ก. ควบคุมการเคลื่อนตัวของเพลาข้อเหวี่ยงไปตามแนวเพลา
ข. ควบคุมการเคลื่อนตัวของเพลาข้อเหวี่ยงในแนวขึ้นลง
ค. รับแรงต้านจากการเหยียบครัตช์
ง. ป้องกันการสไลด์ตัวของเพลาข้อเหวี่ยง
ลูกสูบต้องมีคุณสมบัติในการทนอุณหภูมิได้เท่าไร
ก. 320–330 องศาเซลเซียส
ข. 300–500 องศาเซลเซียส
ค. 400–800 องศาเซลเซียส
ง. 400–1,200 องศาเซลเซียส
สมบัติสำคัญประการหนึ่งของลูกสูบคือข้อใด
ก. ต้องมีน้ำหนักเบา
ข. ต้องมีน้ำหนักมาก
ค. ต้องทำจากเหล็กหล่อ
ง. ใช้สารหล่อลื่นได้หลายประเภท
ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของแหวนลูกสูบ
ก. ป้องกันการรั่วของแก๊สจากการเผาไหม้
ข. กวาดน้ำมันหล่อลื่นออกจากผนังกระบอกสูบ
ค. แหวนตัวบนทำหน้าที่กวาดน้ำมันหล่อลื่น
ง. ป้องกันลูกสูบติดเนื่องจากความร้อน
ข้อใดกล่าวถึงการยึดลูกสูบกับสลักก้านสูบได้ถูกต้อง
ก. ยึดแบบกึ่งลอย
ข. ยึดแบบกึ่งกลาง
ค. ยึดด้านข้าง
ง. ยึดด้านบน
ข้อใดกล่าวถึงการติดตั้งเพลาลูกเบี้ยวกับเครื่องยนต์ได้ถูกต้อง
ก. Single Overhead Valve
ข. Double Overhead Valve
ค. Single Overhead Camshaft
ง. Double Overhead
ข้อใดกล่าวถึงลิ้นได้ถูกต้อง
ก. ลิ้นไอดีมีขนาดเล็กกว่าลิ้นไอเสีย
ข. ลิ้นไอดีมีขนาดใหญ่กว่าลิ้นไอเสีย
ค. ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียมีขนาดเท่ากัน
ง. ขนาดของลิ้นขึ้นอยู่กับวิศวกรการออกแบบ
เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ ใน 1 กลวัตร (Cycle) ของการทำงาน เพลาข้อเหวี่ยงหมุนกี่รอบ
ก. 1 รอบ
ข. 2 รอบ
ค. 3 รอบ
ง. 4 รอบ
เครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ ใน 1 กลวัตร (Cycle) ของการทำงาน เพลาข้อเหวี่ยงหมุนกี่รอบ
ก. 1 รอบ
ข. 2 รอบ
ค. 3 รอบ
ง. 4 รอบ
ข้อใดกล่าวถึงจังหวะดูดของเครื่องยนต์ดีเซลได้ถูกต้อง
ก. จังหวะประจุไอดีเข้าห้องเผาไหม้
ข. จังหวะฉีดน้ำมันเข้าห้องเผาไหม้
ค. จังหวะประจุอากาศเข้าห้องเผาไหม้
ง. จังหวะดูดไอดีเข้ามาไล่ไอเสีย
ข้อใดกล่าวถึงความแตกต่างของเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ และ 4 จังหวะได้ถูกต้อง
ก. การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
ข. การจุดระเบิด
ค. การประจุไอดี
ง. การคายไอเสีย
ห้องเผาไหม้แบบใดไม่ต้องใช้หัวเผา
ก. แบบฉีดตรง
ข. แบบหมุนวน
ค. แบบห้องเผาไหม้ล่วงหน้า
ง. แบบปิด
ข้อใดคือข้อดีของห้องเผาไหม้แบบฉีดตรง
ก. ความดันในการเผาไหม้สูง
ข. ประสิทธิภาพทางความร้อนสูง
ค. ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลากหลาย
ง. อุณหภูมิแก๊สไอเสียสูง
ข้อใดคือข้อเสียของห้องเผาไหม้แบบฉีดตรง
ก. อุณหภูมิแก๊สไอเสียต่ำ
ข. โครงสร้างห้องเผาไหม้ไม่ซับซ้อน
ค. เสียงเครื่องยนต์ดัง
ง. ความดันในการเผาไหม้ต่ำ
ข้อใดไม่ใช่ห้องเผาไหม้แบบปิด
ก. แบบอากาศหมุนวน
ข. แบบห้องเผาไหม้ล่วงหน้า
ค. แบบเซลล์พลังงาน
ง. แบบฉีดตรง
ข้อใดคือข้อดีของห้องเผาไหม้แบบอากาศหมุนวน
ก. การน็อคของเครื่องยนต์น้อย
ข. การน็อคของเครื่องยนต์มาก
ค. สูญเสียความร้อนจากห้องหมุนวนน้อย
ง. สมรรถนะของเครื่องยนต์สูงที่ความเร็วต่ำ
ลิ้นไอเสียเปิดก่อนศูนย์ตายล่างในจังหวะกำลังเพื่ออะไร
ก. ลดแรงต้านการเคลื่อนที่ในจังหวะคาย
ข. ลดความร้อนของเครื่องยนต์
ค. เพื่อให้การระบายไอเสียได้หมดจด
ง. เพิ่มประสิทธิภาพในจังหวะอัด
ข้อใดกล่าวถึง “Over Lab Valve” ได้ถูกต้อง
ก. ลิ้นไอเสียปิด ลิ้นไอดีเปิด
ข. ลิ้นไอดีกำลังจะเปิด ลิ้นไอเสียปิด
ค. ลิ้นไอดีเปิดค้างเพื่อดูดอากาศ
ง. ลิ้นไอเสียกำลังจะปิด ลิ้นไอดีเริ่มเปิด
เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ จุดระเบิดได้อย่างไร
ก. ประกายไฟจากหัวเทียน
ข. ความร้อนจากหัวเผา
ค. ความร้อนจากการอัดอากาศ
ง. ฝอยละอองน้ำมัน
การระบายไอเสียเพื่อลดแรงดันเกิดขึ้นในจังหวะใด
ก. ปลายจังหวะคาย
ข. ปลายจังหวะดูด
ค. ปลายจังหวะกำลัง
ง. ต้นจังหวะดูด
ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของเครื่องยนต์ดีเซล
ก. อัดไอดีเพียงอย่างเดียว
ข. อัดอากาศเพียงอย่างเดียว
ค. อัดน้ำมันกับอากาศ
ง. ใช้หัวเผาในการจุดระเบิด
ในรอบการทำงานเท่ากัน เครื่องยนต์ใดให้กำลังมากกว่า
ก. เครื่องยนต์ 2 จังหวะ
ข. เครื่องยนต์ 4 จังหวะ
ค. เครื่องยนต์ดีเซล
ง. เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ข้อใดคือหน้าที่ของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
ก. ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในตำแหน่งลูกสูบอยู่ศูนย์ตายบน
ข. ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาระของเครื่องยนต์
ค. ฉีดน้ำมันเพียงเล็กน้อยปลายจังหวะอัด
ง. หยุดฉีดน้ำมันเมื่อลดความเร็วของเครื่องยนต์
ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลงเครื่องยนต์ดีเซลยุคแรก ๆ เป็นแบบใด
ก. แบบแถวเรียง
ข. แบบจานจ่าย
ค. แบบผสม
ง. แบบรางร่วม
ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลงแบบแถวเรียงมีลักษณะตามข้อใด
ก. มีลูกปั๊ม (Plunger) เท่ากับจำนวนสูบของเครื่องยนต์
ข. มีลูกปั๊ม (Plunger) จำนวนสองเท่าของจำนวนสูบเครื่องยนต์
ค. มีลูกปั๊ม (Plunger) เพียงตัวเดียว
ง. ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
การควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงของปั๊มแบบแถวเรียงทำได้โดยวิธีใด
ก. การบิดตัวของลูกปั๊ม (Plunger)
ข. อัตราส่วนการอัดของเครื่องยนต์
ค. ระยะชักของลูกปั๊ม
ง. ความยาวของลูกปั๊ม
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใดปั๊มน้ำมันต้องสร้างแรงดันตลอดเวลา
ก. แบบแถวเรียง (PE)
ข. แบบจานจ่าย (VE)
ค. แบบกลไก
ง. แบบใช้รางร่วม (Common Rial)
ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย (VE) มีลูกปั๊ม (Plunger) กี่ชุด
ก. 1 ชุด
ข. 2 ชุด
ค. 4 ชุด
ง. ตามจำนวนสูบของเครื่องยนต์
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใดใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการทำงาน
ก. แบบแถวเรียง (PE)
ข. แบบจานจ่าย (VE)
ค. แบบกลไกควบคุม
ง. แบบใช้รางร่วม (Common Rail)
“Pilot Injection” เป็นการฉีดครั้งใดของระบบคอมมอลเรล
ก. การฉีดครั้งที่ 1
ข. การฉีดครั้งที่ 2
ค. การฉีดครั้งที่ 3
ง. การฉีดครั้งที่ 4
ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการฉีดช่วง “After Injection”
ก. เพื่อให้ได้กำลังสูงสุด
ข. เพื่อให้ประหยัดเชื้อเพลิงที่สุด
ค. เพื่อควบคุมสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์
ง. เพื่อให้การเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด
ปั๊มแรงดันสูงในระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบคอมมอนเรลสร้างแรงดันน้ำมันได้เท่าไร
ก. 140 MPa
ข. 150 MPa
ค. 160 MPa
ง. 170 MPa
ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของรางร่วม (Rail)
ก. ท่อน้ำมันไหลกลับปั๊ม
ข. ท่อส่งไปหัวฉีด
ค. อุปกรณ์ควบคุมแรงดัน
ง. เซนเซอร์วัดแรงดัน
หัวฉีดในระบบคอมมอนเรลเปิด–ปิดได้อย่างไร
ก. ลิ้นโซลินอยด์
ข. ห้องควบคุมแรงดัน
ค. แรงดันน้ำมัน
ง. การยกตัวของหัวฉีด
ข้อดีของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคอมมอนเรลคือข้อใด
ก. ฉีดน้ำมันได้รวดเร็ว
ข. ลดมลภาวะจากการเผาไหม้
ค. ฉีดน้ำมันได้ปริมาณมาก
ง. ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำได้
อุปกรณ์ใดไม่มีท่อน้ำมันกลับถังในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคอมมอนเรล
ก. หัวฉีด
ข. รางร่วม
ค. ปั๊ม
ง. โซลีนอยด์ควบคุมแรงดันน้ำมัน
หัวฉีดของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใดฉีดน้ำมันได้เป็นฝอยละอองดีที่สุด
ก. แบบแถวเรียง (PE)
ข. แบบจานจ่าย (VE)
ค. แบบคอมมอนเรล
ง. แบบกึ่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของระบบน้ำมันเครื่อง
ก. ทำความสะอาดชิ้นส่วน
ข. เพิ่มกำลังอัดในกระบอกสูบ
ค. ระบายความร้อนออกจากชิ้นส่วน
ง. ลดแรงเสียดทานของชิ้นส่วนที่สัมผัสกัน
ระบบหล่อลื่นที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือแบบใด
ก. แบบวิดสาด
ข. แบบใช้แรงดัน
ค. แบบผสม
ง. แบบใช้แรงดันจากการเผาไหม้
เหตุใดต้องเติมสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องเครื่องยนต์ดีเซล
ก. เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้น
ข. เพื่อป้องกันกำลังอัดรั่ว
ค. เพื่อให้ทนความร้อนและความดันจากการเผาไหม้
ง. เพื่อให้ทนต่อสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนในน้ำมัน
น้ำมันเครื่องจะเสื่อมคุณภาพที่อุณหภูมิเท่าไร
ก. 110 องศาเซลเซียส
ข. 117 องศาเซลเซียส
ค. 128 องศาเซลเซียส
ง. 130 องศาเซลเซียส
อุปกรณ์ใดทำให้น้ำมันเครื่องสามารถหมุนเวียนในระบบได้
ก. ท่อทางน้ำมันเครื่อง
ข. ปั๊มน้ำมันเครื่อง
ค. ลิ้นควบคุมแรงดัน
ง. อ่างน้ำมันเครื่อง
ข้อใดไม่ใช่สมบัติของน้ำมันเครื่องที่ดี
ก. เกาะผิวชิ้นส่วนได้ดี
ข. ชิ้นส่วนฟิล์มไม่ขาดง่าย
ค. มีความลื่นสูง
ง. เมื่ออุณหภูมิสูงจะระเหยได้ดี
เหตุใดจึงต้องใช้ออยล์คูลเลอร์ในเครื่องยนต์ดีเซล
ก. ลดแรงดันน้ำมันเครื่อง
ข. เพิ่มแรงดันน้ำมันเครื่อง
ค. ระบายความร้อนน้ำมันเครื่อง
ง. ลดความร้อนน้ำหล่อเย็น
แรงดันในระบบหล่อลื่นถูกควบคุมด้วยอุปกรณ์ใด
ก. ปั๊มน้ำมันแบบฟันเฟือง
ข. ปั๊มน้ำมันแบบโรตารี่
ค. ลิ้นเพิ่มแรงดันและลิ้นระบาย
ง. ลิ้นปรับแรงดันและลิ้นระบาย
ข้อใดคือผลกระทบจากการหล่อลื่นไม่เพียงพอ
ก. ชิ้นส่วนเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว
ข. แรงดันน้ำมันเครื่องลดลงอย่างรวดเร็ว
ค. น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ
ง. น้ำมันเครื่องจะเหลวมาก
เหตุใดจึงเกิดฟองอากาศในระบบหล่อลื่น
ก. การหล่อลื่นไม่เพียงพอ
ข. น้ำมันเครื่องต่ำกว่าระดับกำหนด
ค. อุณหภูมิเครื่องยนต์ต่ำเกินไป
ง. การเลือกใช้น้ำมันผิดเบอร์
เหตุใดจึงเกิดไอน้ำขึ้นระหว่างการเผาไหม้
ก. การหล่อลื่นไม่เพียงพอ
ข. น้ำมันเครื่องต่ำกว่าระดับกำหนด
ค. อุณหภูมิเครื่องยนต์ต่ำเกินไป
ง. การเลือกใช้น้ำมันผิดเบอร์
การเคลือบผิวชิ้นส่วนไม่เพียงพอเกิดจากสาเหตุใด
ก. การหล่อลื่นไม่เพียงพอ
ข. น้ำมันเครื่องต่ำกว่าระดับกำหนด
ค. อุณหภูมิเครื่องยนต์ต่ำเกินไป
ง. การเลือกใช้น้ำมันผิดเบอร์
ข้อใดคือสาเหตุของการมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำมันเครื่อง
ก. ถ่ายน้ำมันเครื่องช้ากว่าระยะที่กำหนด
ข. เลือกใช้น้ำมันเครื่องผิดเบอร์
ค. อุณหภูมิเครื่องยนต์ต่ำเกินไป
ง. น้ำมันเครื่องต่ำกว่าระดับกำหนด
น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ต้องทนต่ออุณหภูมิได้เท่าไร
ก. 200 องศาเซลเซียส
ข. 250 องศาเซลเซียส
ค. 270 องศาเซลเซียส
ง. 290 องสาเซลเซียส
ข้อใดคือระดับมาตรฐานน้ำมันเครื่องเครื่องยนต์ดีเซล
ก. SG
ข. CG
ค. FG
ง. BG
ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของการระบายความร้อน
ก. ระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์ให้มากที่สุด
ข. ป้องกันประสิทธิภาพการหล่อลื่นลดลง
ค. รักษาอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิทำงาน
ง. ป้องกันผนังกระบอกสูบสึกหรอเร็ว
เครื่องยนต์ชนิดใดมักใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
ก. เครื่องยนต์ขนาดใหญ่
ข. เครื่องยนต์ขนาดเล็ก
ค. เครื่องยนต์ 2 จังหวะ
ง. เครื่องยนต์ 4 จังหวะ
ข้อใดเป็นผลจากอุณหภูมิของเครื่องยนต์ต่ำเกินไป
ก. ประสิทธิภาพทางความร้อนของเครื่องยนต์ลดลง
ข. ปั๊มน้ำทำงานอย่างต่อเนื่อง
ค. กำลังเครื่องยนต์ลดลง
ง. เชื้อเพลิงกลั่นตัวเกาะผนังกระบอกสูบ
. การลดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นในระบบระบายความร้อนใช้หลักการใด
ก. การแลกเปลี่ยนความร้อน
ข. การหมุนเวียนของน้ำหล่อเย็น
ค. การกักน้ำหล่อเย็นไว้ที่หม้อน้ำ
ง. การเพิ่มความเร็วในการหมุนของปั๊มน้ำ
ครีบ (Fin) ของหม้อน้ำมีความสำคัญอย่างไร
ก. ทำให้ท่อน้ำยึดติดกันเป็นชุด
ข. ปะทะกับอากาศเพื่อถ่ายเทความร้อนออก
ค. ช่วยให้หม้อน้ำแข็งแรงมากขึ้น
ง. ป้องกันเศษวัสดุ ปะทะกับหม้อน้ำขณะรถแล่น
ส่วนประกอบใดของหม้อน้ำที่ทำหน้าที่รักษาแรงดันของหม้อน้ำ
ก. หลอดน้ำ
ข. น้ำหล่อเย็น
ค. ฝาครอบบน
ง. ฝาหม้อน้ำ
หม้อน้ำแบบใดช่วยให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนสูง
ก. แบบครีบแผ่น
ข. แบบครีบลูกฟูก
ค. แบบน้ำไหลลง
ง. แบบน้ำไหลข้าม
ข้อใดกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันและอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
ก. อุณหภูมิเพิ่มขึ้นแรงดันเพิ่มขึ้น
ข. อุณหภูมิเพิ่มขึ้นแรงดันลดลง
ค. อุณหภูมิลดลงแรงดันเพิ่มขึ้น
ง. แรงดันและอุณหภูมิไม่มีความสัมพันธ์กัน
ส่วนประกอบใดของระบบระบายความร้อนทำหน้าที่ให้น้ำหล่อเย็นหมุนเวียนในระบบ
ก. หม้อน้ำแบบไหลลง
ข. ฝาหม้อน้ำ
ค. ปั๊มน้ำ
ง. เทอร์โมสตัท
ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของเทอร์โมสตัทถูกต้องที่สุด
ก. ช่วยให้น้ำหล่อเย็นร้อนเร็วขึ้น
ข. ช่วยให้น้ำหล่อเย็นเย็นเร็วขึ้น
ค. ควบคุมแรงดันหม้อน้ำ
ง. รักษาระดับอุณหภูมิของเครื่องยนต์
ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของหม้อน้ำได้ถูกต้อง
ก. ระบายความร้อนน้ำหล่อเย็น
ข. ระบายความดันออกจากระบบ
ค. ควบคุมแรงดันหม้อน้ำ
ง. เพิ่มการหมุนเวียนของน้ำหล่อเย็น
ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของฝาหม้อน้ำ ได้ถูกต้อง
ก. ควบคุมความดันระบบหล่อเย็น
ข. ควบคุมความดันฝาหม้อน้ำ
ค. ควบคุมความดันเทอร์โมสตัท
ง. ควบคุมความดันในปั๊มน้ำ
ส่วนประกอบใดในต่อไปนี้ช่วยทำให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ถึงอุณหภูมิทำงานเร็วขึ้น
ก. หม้อน้ำแบบครีบลูกฟูก
ข. หม้อน้ำแบบครีบแผ่น
ค. เทอร์โมสตัท
ง. ฝาปิดหม้อน้ำ
“เทอร์โมสตัท” ทำหน้าที่เหมือนประตูน้ำระหว่างส่วนประกอบใด
ก. หม้อน้ำกับท่อน้ำ
ข. หม้อน้ำกับเทอร์โมสตัท
ค. หม้อน้ำกับเครื่องยนต์
ง. เครื่องยนต์กับถังสำรองน้ำ
ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของถังสำรองกับหม้อน้ำ
ก. เก็บน้ำหล่อเย็นเมื่ออุณหภูมิในระบบสูงขึ้น
ข. สำรองน้ำหล่อเย็นเมื่ออุณหภูมิในระบบสูงขึ้น
ค. ปล่อยน้ำหล่อเย็นเข้าในระบบเมื่ออุณหภูมิต่ำลง
ง. เก็บน้ำไว้ใช้สำหรับเติมหม้อน้ำ
ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของระบบไอดีของเครื่องยนต์ได้ถูกต้อง
ก. ประจุอากาศเข้าเครื่องยนต์
ข. ประจุไอดีเข้าเครื่องยนต์
ค. ประจุน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์
ง. ผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการนำอากาศเข้าไปกวาดล้างไอเสีย
ก. ไล่ก๊าซไอเสียออกจากห้องเผาไหม้
ข. ทำให้การเผาไหม้มีประสิทธิภาพ
ค. ได้กำลังจากเครื่องยนต์มากขึ้น
ง. ลดมลภาวะของก๊าซไอเสีย
กรองอากาศที่ดีต้องมีสมบัติตามข้อใด
ก. มีขนาดใหญ่
ข. ต้านทานอากาศน้อย
ค. ล้างทำความสะอาดได้
ง. อากาศไหลเข้าสะดวก
ข้อใดคือข้อดีของกรองอากาศแบบเปียก
ก. ประสิทธิภาพการกรองสูง
ข. ต้านทานอากาศน้อย
ค. อากาศไหลเข้าสะดวก
ง. ต้องการบำรุงรักษาน้อย
ข้อใดเป็นหน้าที่ของลิ้นไอดี
ก. เปิด–ปิด อากาศเข้ากระบอกสูบ
ข. เปิด–ปิด ให้ไอดีเข้ากระบอกสูบ
ค. เปิด–ปิด น้ำมันเข้ากระบอกสูบ
ง. เป็นช่องที่อากาศกับน้ำมันเข้ากระบอกสูบพร้อมกัน
เพราะเหตุใดเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ๆ จึงมีจำนวนลิ้นไอดีมากขึ้น
ก. เครื่องยนต์มีอัตราเร่งดีขึ้น
ข. เครื่องยนต์ทนทานมากขึ้น
ค. ลดขนาดของลิ้น
ง. เครื่องยนต์มีขนาดเล็กลง
เพราะเหตุใดจึงมีการติดตั้งท่อร่วมไอดี และท่อร่วมไอเสียไว้ด้านเดียวกัน
ก. ทำให้เครื่องยนต์มีขนาดเล็กลง
ข. ติดตั้งเครื่องยนต์กับตัวรถได้สะดวก
ค. อุ่นอากาศก่อนเข้าห้องเผาไหม้
ง. ระบายความร้อนไอเสียก่อนปล่อยออกจากเครื่องยนต์
ข้อใดคือหน้าที่ของเทอร์โบชาร์จเจอร์
ก. เร่งการระบายไอเสียออกจากใบพัดเทอร์ไบน์
ข. เร่งการประจุอากาศเข้ากระบอกสูบ
ค. เพิ่มความทนทานให้กับฝาสูบ
ง. เร่งการคายไอเสียจากห้องเผาไหม้
เทอร์โบชาร์จเจอร์ทำงานอย่างไร
ก. ใช้ไอดีขับใบพัดเทอร์ไบน์
ข. ใช้ไอดีขับใบพัดคอมเพรสเซอร์
ค. ใช้ไอเสียขับใบพัดเทอร์ไบน์
ง. ใช้ไอเสียขับใบพัดคอมเพรสเซอร์
ข้อใดคือข้อดีของเทอร์โบชาร์จเจอร์แบบปรับได้
ก. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
ข. สามารถเพิ่มความดันตามภาระของเครื่องยนต์
ค. มีอายุการใช้งานยาวนาน
ง. สามารถควบคุมคุณภาพของไอเสียได้
ข้อใดไม่ใช่ผลของการออกแบบระบบไอเสียไม่เหมาะสม
ก. กำลังของเครื่องยนต์ลดลง
ข. เครื่องยนต์มีเสียงดัง
ค. ไม่มีความต้านทานการไหล
ง. เกิดแรงดันย้อนกลับ
หน้าที่ของแคตตาไลท์ติกคอนเวิร์ทเตอร์คืออะไร
ก. เพิ่มกำลังม้าให้แก่เครื่องยนต์
ข. ลดเสียงดังจากเครื่องยนต์
ค. ช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิง
ง. ลดมลภาวะของก๊าซไอเสีย
แคตตาไลท์ติกคอนเวิร์ทเตอร์ไม่เกี่ยวข้องกับข้อใด
ก. คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
ข. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ค. ไฮโดรคาร์บอน (HC)
ง. ไนตริกออกไซด์ (NOX)
แคตตาไลท์ติกคอนเวิร์ทเตอร์มีกี่แบบ อะไรบ้าง
ก. 2 แบบ คือ แคตตาไลท์ติกทางเดียว และ 3 ทาง
ข. 2 แบบ คือ แคตตาไลท์ติก 2 ทาง และ 3 ทาง
ค. 2 แบบ คือ แคตตาไลท์ติกทางเดียว และ 2 ทาง
ง. 3 แบบ คือ แคตตาไลท์ติกทางเดียว 2 ทาง และ 3 ทาง
ข้อใดคือหน้าที่ของ “EGR”
ก. ลดอุณหภูมิก๊าซไอเสีย
ข. ลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
ค. นำก๊าซไอเสียกลับไปเผาซ้ำ
ง. เพิ่มอากาศเข้ากระบอกสูบ
ถ้าฉนวนหุ้มสายไฟที่เป็นจุดจ่ายไฟชำรุดและเกิดการช็อตกราวด์ในวงจรจะเกิดผลอย่างไร
ก. กระแสไหลในวงจรเพิ่มขึ้น
ข. แรงเคลื่อนในวงจรเพิ่มขึ้น
ค. กระแสไหลในวงจรน้อยลง
ง. ความต้านทานในวงจรเพิ่มขึ้น
วงจรไฟฟ้าในรถยนต์มีกี่แบบ อะไรบ้าง
ก. 2 แบบ คือ วงจรกระแสตรงและวงจรกระแสสลับ
ข. 1 แบบ คือ วงจรกระแสตรง
ค. 2 แบบ คือ วงจรอนุกรมและวงจรอันดับ
ง. 2 แบบ คือ วงจรอนุกรมและวงจรขนาน
ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของระบบไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล
ก. จ่ายไฟให้วงจรส่องสว่าง
ข. จ่ายไฟให้ระบบไฟชาร์จ
ค. จ่ายไฟให้วงจรสตาร์ต
ง. ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
ข้อใดกล่าวถึง “มอเตอร์สตาร์ต” และ “อัลเทอร์เนเตอร์” ได้ถูกต้อง
ก. มอเตอร์สตาร์ตใช้พลังงานไฟฟ้า อัลเทอร์เนเตอร์ผลิตพลังงานไฟฟ้า
ข. มอเตอร์สตาร์ตใช้พลังงานไฟฟ้า อัลเทอร์เนเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้า
ค. มอเตอร์สตาร์ตผลิตพลังงานไฟฟ้า อัลเทอร์เนเตอร์ผลิตพลังงานไฟฟ้า
ง. มอเตอร์สตาร์ตผลิตพลังงานไฟฟ้า อัลเทอร์เนเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าที่อัลเทอร์เนเตอร์ผลิตได้เป็นกระแสอะไร
ก. กระแสแรงดันสูง
ข. กระแสแรงดันต่ำ
ค. กระแสตรง
ง. กระแสสลับ
อุปกรณ์ที่ใช้แปลงกระแสสลับเป็นกระแสตรงคือข้อใด
ก. ทรานซิสเตอร์
ข. รีดิวส์เซอร์
ค. ไดโอด
ง. รีซิสเตอร์
อุปกรณ์ใดของอัลเทอร์เนเตอร์ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ก. ไดโอด
ข. ขดลวดฟิลล์คอยล์
ค. ขดลวดสเตเตอร์
ง. เร็กกูเลเตอร์
อัลเทอร์เนเตอร์จะควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในช่วงใด
ก. 12 โวลต์
ข. 13–15 โวลต์
ค. 8–2 โวลต์
ง. 10–12 โวลต์
ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของหัวเผาในการอุ่นอากาศ
ก. ต้องการให้สตาร์ตเครื่องยนต์ง่ายขึ้น
ข. ต้องการให้ไอน้ำในอากาศระเหยออก
ค. ต้องการให้การเผาไหม้ดีขึ้น
ง. ต้องการให้ประหยัดเชื้อเพลิง
ความต้านทานระหว่างสะพานไฟหัวเผาและหัวเผาอยู่ในช่วงใด
ก. 0.6–0.8 โอห์ม
ข. 6–8 โอห์ม
ค. 0.2–0.3 โอห์ม
ง. 2–3 โอห์ม
อุปกรณ์ใดทำหน้าที่ควบคุมให้อัลเทอร์เนเตอร์ผลิตกระแสไฟตามกำหนด
ก. เร็กกูเลเตอร์
ข. ชุดไดโอด
ค. ขดลวดสเตเตอร์
ง. ขดลวดฟิลล์คอยล์
การควบคุมอัลเทอร์เนเตอร์ไม่ให้ผลิตไฟเกินใช้วิธีการใด
ก. ตัดไฟเลี้ยงเร็กกูเลเตอร์
ข. ตัดไฟเลี้ยงชุดไดโอด
ค. ตัดไฟเลี้ยงขดลวดสเตเตอร์
ง. ตัดไฟขดลวดฟิลล์คอยล์
เหตุใดจึงต้องมีการทดสอบการผลิตกระแสไฟฟ้าของอัลเทอร์เนเตอร์
ก. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของขดลวดฟิลล์คอยส์
ข. เพื่อทดสอบว่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตออกมาใกล้เคียงกับกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน
ค. เพื่อทดสอบการทำงานของชุดไดโอด
ง. เพื่อทดสอบการควบคุมแรงดันไฟฟ้าของเร็กกูเลเตอร์
แก๊สที่ออกมาจากแบตเตอรี่ขณะที่ทำการชาร์จไฟคือข้อใด
ก. แก๊สไฮโดรเจน
ข. แก๊สไนโตรเจน
ค. แก๊สซัลเฟอร์
ง. แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
การชาร์จไฟด้วยกระแสไฟแรงสูงเป็นการชาร์จแบบใด
ก. ชาร์จไฟขณะเครื่องยนต์ทำงาน
ข. ชาร์จไฟขณะอุณหภูมิแบตเตอรี่ต่ำ
ค. ชาร์จแบบช้า
ง. ชาร์จแบบเร็ว
เหตุใดจึงต้องมีการตรวจเครื่องยนต์ ก่อนทำการติดเครื่องยนต์
ก. เพื่อตรวจดูระดับน้ำหล่อเย็น
ข. เพื่อตรวจดูระดับน้ำมันเครื่อง
ค. เพื่อตรวจระบบระบายความร้อน
ง. เพื่อป้องกันความเสียหายเมื่อติดเครื่องยนต์
ข้อใดกล่าวถึงการตรวจขันนัทได้ถูกต้อง
ก. ขันนัทให้แน่นที่สุด
ข. ขันนัทเท่าที่จำเป็น
ค. ขันนัทด้วยค่าแรงขันตามคู่มือ
ง. ขันนัทไม่แน่นมากเพื่อให้ขันออกได้ง่าย
การตรวจสายพานต้องใช้แรงกดบริเวณใด
ก. กึ่งกลางระหว่างพูลเลย์
ข. บริเวณที่กดสะดวก
ค. บริเวณด้านพูลเลย์ตัวใหญ่
ง. บริเวณด้านพูลเลย์ตัวเล็ก
ข้อใดกล่าวถึงการตรวจระดับน้ำมันเครื่องได้ถูกต้อง
ก. น้ำมันเครื่องต้องอยู่ระดับ H เสมอ
ข. น้ำมันเครื่องต้องอยู่เกินระดับ H เล็กน้อย
ค. น้ำมันเครื่องต้องอยู่ระหว่างระดับ H และ L
ง. ต้องเติมน้ำมันเครื่องทันทีที่ต่ำกว่าระดับ H
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อเย็นควรทำเมื่อใด
ก. ขณะเครื่องยนต์เย็น
ข. ขณะเครื่องยนต์ร้อน
ค. ขณะอุ่นเครื่องยนต์
ง. แล้วแต่ความต้องการ
การวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดแบตเตอรี่ใช้เครื่องมือชนิดใด
ก. มัลติมิเตอร์
ข. ไฮโดรมิเตอร์
ค. บาร์โรมิเตอร์
ง. โอห์มมิเตอร์
ความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดแบตเตอรี่มีค่าเท่าไร
ก. 0.80 – 1.00
ข. 1.15 – 1.19
ค. 1.20 – 1.25
ง. 1.25 – 1.28
หลังจากเครื่องยนต์ติดแล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจอะไร
ก. การทำงานของระบบสตาร์ต
ข. รอยรั่วซึมของระบบหล่อลื่น
ค. รอยรั่วซึมของระบบระบายความร้อน
ง. การทำงานของระบบไฟชาร์จ
การปรับแต่งเครื่องยนต์มีความสำคัญอย่างไร
ก. เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้น
ข. เพื่อให้ประหยัดเชื้อเพลิง
ค. เพื่อความสมบูรณ์ในการทำงาน
ง. เพื่อลดมลภาวะจากแก๊สไอเสียรถยนต์
จุดสำคัญในการตรวจรอยรั่วของระบบระบายความร้อนคือข้อใด
ก. ข้อต่อท่อทางน้ำหล่อเย็น
ข. ฝาหม้อน้ำ
ค. เทอร์โมสตัท
ง. ถังสำรองน้ำ
จุดสำคัญในการตรวจรอยรั่วซึมระบบหล่อลื่นคือข้อใด
ก. บริเวณฝาสูบ
ข. บริเวณเสื้อสูบ
ค. รอยต่อของชิ้นส่วนและซีลต่าง ๆ
ง. รอยต่อระหว่างฝาสูบและเสื้อสูบ
การปรับแต่งระยะการเคลื่อนตัวของลูกปั๊มมีความจำเป็นอย่างไร
ก. เพื่อให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งสูงขึ้น
ข. เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้น
ค. เพื่อให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
ง. เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างสมบูรณ์
ถ้าอ่านค่าระยะการเคลื่อนตัวของลูกปั๊มได้น้อยกว่าคู่มือกำหนด ต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ขยับเรือนปั๊มในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
ข. ขยับเรือนปั๊มในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ค. ขยับเรือนปั๊มในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา อีก 15 องศา
ง. ขยับเรือนปั๊มในทิศทางตามเข็มนาฬิกา อีก 15 องศา
ถ้าองศาการจุดระเบิดไม่ถูกต้องจะมีผลกระทบต่อการปรับแต่งระบบใด
ก. การปรับรอบสูงสุด
ข. การปรับหัวฉีด
ค. การปรับรอบเดินเบา
ง. การปรับรอบปานกลาง
เครื่องยนต์โดยทั่วไปมีรอบเดินเบากี่รอบต่อนาที
ก. 600 – 800 รอบต่อนาที
ข. 600 – 900 รอบต่อนาที
ค. 800 – 1,000 รอบต่อนาที
ง. 750 – 900 รอบต่อนาที
ข้อใดกล่าวถึงการสึกหรอที่ผิดปกติของเครื่องยนต์ได้ถูกต้อง
ก. การสึกหรออย่างรวดเร็ว
ข. การสึกหรอเนื่องจากน้ำมันเครื่องน้อยเกินไป
ค. การสึกหรอเนื่องจากอุณหภูมิสูง
ง. การสึกหรอนอกเหนือจากการสึกหรอจากการทำงานของเครื่องยนต์
ข้อใดไม่ส่งผลให้เกิดการสึกหรอผิดปกติ
ก. การใช้น้ำมันเครื่องไม่ถูกต้อง
ข. ไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามคู่มือ
ค. ไม่มีการอุ่นเครื่องยนต์ก่อนการใช้งาน
ง. ไม่มีการอุ่นอากาศก่อนเข้าเครื่องยนต์
ข้อใดกล่าวถึง “การซ่อมก่อนเสีย” ได้ถูกต้อง
ก. การตรวจซ่อมทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร
ข. การซ่อมตามอายุการใช้งาน
ค. การซ่อมจากการประเมินของช่าง
ง. การซ่อมทั่วไป
ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการซ่อมก่อนเสีย
ก. ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
ข. ลดค่าแรงในการซ่อมบำรุง
ค. ป้องกันความเสียหายลุกลาม
ง. เพิ่มระยะเวลาในการทำงานของเครื่องยนต์
เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายจากการทำงานผิดพลาดของระบบใดมากที่สุด
ก. ระบบระบายความร้อน
ข. ระบบหล่อลื่น
ค. ระบบไฟชาร์จ
ง. ระบบสตาร์ต
ระบบใดต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กัน
ก. ระบบสตาร์ต และระบบไฟชาร์จ
ข. ระบบระบายความร้อน และระบบไฟชาร์จ
ค. ระบบระบายความร้อน และระบบหล่อลื่น
ง. ระบบระบายความร้อน และระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อใดเป็นผลจากอุณหภูมิของเครื่องยนต์ไม่ถึงอุณหภูมิการทำงาน
ก. น้ำมันเครื่องมีความดันต่ำ
ข. น้ำมันเครื่องไหลไปหล่อลื่นชิ้นส่วนไม่ดีพอ
ค. น้ำมันเครื่องมีความหนืดสูงป้องกันสึกหรอได้ดี
ง. สตาร์ตเครื่องยนต์ไม่ติด
ข้อใดไม่ใช่จุดที่ต้องตรวจสอบในระบบระบายความร้อน
ก. เทอร์โมสตัท
ข. เกจวัดความดัน
ค. เกจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
ง. ฝาหม้อน้ำ
ข้อใดเป็นผลจากซีล (Seal) ฝาปิดหม้อน้ำชำรุด
ก. เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
ข. ความดันหม้อน้ำผิดปกติ
ค. ความเร็วในการหมุนปั๊มน้ำผิดปกติ
ง. หม้อน้ำแตกเนื่องจากความดันสะสม
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ขาดการหล่อลื่น
ก. เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นใสเกินไป
ข. เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นหนืดเกินไป
ค. น้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าระดับ H
ง. น้ำมันหล่อลื่นสูงกว่าระดับ H
ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์กินน้ำมันเครื่อง
ก. เครื่องยนต์รอบสูงเกินไป
ข. เครื่องยนต์รอบต่ำเกินไป
ค. น้ำมันเครื่องไหลเข้าไปในห้องเผาไหม้
ง. เครื่องยนต์ขาดการหล่อลื่น
ข้อใดคือผลของกำลังอัดรั่ว
ก. น้ำมันเครื่องสกปรก
ข. เครื่องยนต์ร้อนจัด
ค. เครื่องยนต์เดินเบาไม่เรียบ
ง. ซีลเพลาข้อเหวี่ยงชำรุด
ข้อใดคือผลของปริมาณน้ำมันของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เพียงพอ
ก. เครื่องยนต์ชำรุด
ข. เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
ค. เครื่องยนต์สึกหรออย่างรวดเร็ว
ง. ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน
ข้อใดคือสาเหตุจากไส้กรองอากาศอุดตัน
ก. เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
ข. ควันขาว
ค. เครื่องยนต์ชำรุด
ง. แหวนลูกสูบตาย
หากระบบไฟฟ้าเครื่องยนต์มีปัญหาควรตรวจดูอุปกรณ์ใดเป็นอันดับแรก
ก. แบตเตอรี่
ข. อัลเทอร์เนเตอร์
ค. มอเตอร์สตาร์ต
ง. ฟิวส์
Explore all questions with a free account