No student devices needed. Know more
37 questions
1) บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ คือข้อใด
1. กาลิเลโอ
2. เกรเกอร์ เมนเดล
3. หลุย ปาสเตอร์
4. เซอร์ ไอแซคนิวตัน
2. จากผลการทดลองของเมลเดล ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น 1 แต่ปรากฏในรุ่น 2 (หลาน) เช่น ต้นเตี้ย เมลเดลเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าอย่างไร
1.ลักษณะเด่น
2. ลักษณะด้อย
3. ลักษณะปรากฏ
4. ลักษณะแท้
3) จีโนไทป์ที่มียีน 2 แอลลีล ที่ต่างกันเข้าคู่กัน จีโนไทป์สภาพนี้คือข้อใด
1. เฮเทอโรไซกัสจีโนไทป์(heterozygeus genotype)
2 . ฮอโมไซกัสโดมิแนนท์( homezygous dominant )
3. ฮอมอไซกัสจีโนไทป์ ( homozygous genotype)
4. ฮอโมไซกัส รีเซสสีพ ( homozygous recessive )
4) รูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะ เรียกว่าอะไร
1. Genotype
2. Phenotype
3. Dominant gene
4. Recessive gene
5) ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษา
พันธุศาสตร์ของเมนเดล
1. ลักษณะของถั่วลันเตาที่เมนเดลเลือกมาศึกษามีทั้งหมด 9 ลักษณะ
2. ลักษณะของถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษามีแอลลีลควบคุมเพียง 1 แอลลีลเท่านั้น
3. ลักษณะฟีโนไทป์ของรุ่น F2 จะมีอัตราส่วนลักษณะเด่น: ลักษณะด้อย เท่ากับ 1:1
4. การถ่ายทอดลักษณะของรุ่น F1 พบว่า ลักษณะเด่นจะข่มลักษณะด้อยอย่างสมบูรณ์
6 ) ในการผสมถั่ว 2 ชนิด คือ ถั่วพันธุ์สูง กับถั่วพันธุ์เตี้ย ซึ่งเป็น recessive ปรากฏว่าได้รุ่นลูก F1 เป็นสูง:เตี้ย = 1:1 genotype ของถั่วรุ่นพ่อแม่คือข้อใด
1. Tt x TT
2. TT x tt
3. Tt x tt
4. Tt x Tt
7) ข้อใดเป็น homozygous ทั้งหมด
1. TTYy
2. TTRR
3. ttYy
4. ttRr
8) ในการผสมพันธุ์ระหว่าง Aa Bb cc X Aa Bb cc ให้ลูกผสมมีจีในไทป์ทั้งหมดกี่แบบ
1. 4
2. 6
3. 9
4. 16
9) ลักษณะในข้อใดไม่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม
1. ติ่งหู
2 . ลักยิ้ม
3. ความสูง
4 . รอยแผลเป็น
10) แอลลีล (Allele) หมายถึงข้อใด
1. ยีนต่างชนิดกันอยู่บนตำแหน่งเดียวกันของ ฮอมอโลกัสโครโมโซม
2. ยีนเหมือนกันควบคุมพันธุกรรมเดียวกัน
3. ยีนที่เป็นฮอมอไซกัสกันบนตำแหน่งเดียวกันของฮอมอไซกัสโครโมโซม
4. หน่วยพันธุกรรมที่อยู่เป็นคู่กันบนฮอมอโลกัสโครโมโซม
1) ถ้ากำหนดให้ดอกสีม่วง (P) เป็นลักษณะเด่น ในการผสมพันธุ์ถั่วลันเตา ปรากฏว่า ลูกที่ได้รุ่นแรก มีดอกสีขาวและดอกสีม่วงอย่างละเท่าๆกัน จงหาว่าจีโนไทป์ของต้นพ่อและต้นแม่ควรเป็นอย่างไร
1. Pp x pp
2. Pp x Pp
3. Pp x PP
4. PP x pp
12) ตามกฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระของเมนเดล สิ่งมีชีวิตที่มีจีโนไทป์เป็น AaBbCc จะมีเซลล์สืบพันธุ์ได้กี่แบบ
1. 2 แบบ
2. 4 แบบ
3. 6 แบบ
4. 8 แบบ
13) เพราะเหตุใด เมนเดล จึงเลือกที่จะทำการทดลองกับต้นถั่วลันเตา
1. มีอายุสั้น ปลูกง่าย ผลดก
2. มีหลายพันธุกรรมที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน
3. มีการถ่ายละอองขอเรณูภายในดอกเดียวกัน
4. ถูกทุกข้อ
14) ถ้า T แทนแอลลีลที่มีลักษณะเด่น t แทน แอลลีลที่มีลักษณะด้อย พ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ Tt และ tt และ ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสแสดงลักษณะตามข้อใด
1. เด่นทั้งหมด
2. ด้อยทั้งหมด
3. ด้อย 50%
4. เด่น 25% ด้อย 75%
15) ลักษณะต่อไปนี้ Aa × aa จะมีจีโนไทป์กี่แบบฟีโนไทป์กี่แบบ
1. จีโนไทป์ 1 ฟีโนไทป์ 1
2. จีโนไทป์ 2 ฟีโนไทป์ 2
3. จีโนไทป์ 3 ฟีโนไทป์ 3
4. จีโนไทป์ 4 ฟีโนไทป์ 4
16) ถ้าผสมถั่วลันเตาต้นสูงพันธุ์แท้กับถั่วลันเตาต้นเตี้ยพันธุ์แท้ จะได้อัตราส่วนของจีโนไทป์ ในลูกรุ่น F2 เท่ากับเท่าใด
1. 1:2:1
2. 1:1
3. 3:1
4. 1:0
17) ผสมถั่วลันเตาฝักสีเขียว(YY) กับฝีกสีเหลือง (yy ) ลูกที่ได้ในรุ่นที่ F1 จะมีลักษณะอย่างไร
1. ได้ถั่วฝักสีเขียว : ฝักสีเหลือง = 1
2. ได้ถั่วฝักสีเขียว : ฝักสีเหลือง = 2
3. ได้ถั่วฝักสีเขียว ทั้งหมด
4. ได้ถั่วฝักสีเหลืองทั้งหมด
18) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1. Tt จะแสดงลักษณะเด่น
2. TT จะแสดงลักษณะเด่น
3. tt จะแสดงลักษณะด้อย
4. tt จะแสดงลักษณะเด่น
19) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎของเมนเดล
1. กฎข้อที่ 1 คือ กฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
2. กฎข้อที่ 1 คือ กฎแห่งการแยก
3. Law of segeration คือ กฎแห่งการแยก
4. Law of independent assortment คือ กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
20) ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะที่เมนเดล นำมาศึกษา การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
1. ความสูงของลำต้น รูปร่างของฝัก
2. สีของเมล็ด สีของฝัก
3. รูปร่างของเมล็ด สีของดอก
4. ตำแหน่งของดอก สีของลำต้น
21) ในการผสมถั่งลันเตาเมล็ดกลมฝักสีเหลืองกับถั่วเมล็ดขรุขระฝักสีเขียว จะได้ถั่วเมล็ดขรุขระฝักสีเขียวในอัตราส่วนเท่าไร
1. 9/16
2. 4/16
3. 3/16
4. 1/16
22) มะเขือเทศผลสีแดง เป็นลักษณะเด่น (R) ผลสีเหลืองเป็นลักษณะด้อย (r ) และต้นสูงเป็นลักษณะเด่น( T) ต้นเตี้ยเป็นลักษณะด้อย (t ) เมื่อนำมะเขือเทศต้นหนึ้งมีจีโนไทป์ RrTT ผสมกับต้นที่มีจีโนไทป์ rrTt ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
1. จีโนไทป์ของลูกมีทั้งหมด 4 แบบ
2. ฟีโนไทป์ของลูกมีทั้งหมด 4 แบบ
3. จีโนไทป์ที่ได้ คือ RrTT, rrTT, RrTt, rrTt
4. อัตร่าส่วนของฟีโนไทป์ คือ 1:1
23) ลักษณะในข้อใดเป็นลักษณะทางพันธุกรรม
1. โรคเอดส์
2. หูกาง
3. ลักษณะตาสองชั้นที่เกิดจากการทำศัลยกรรม
4. กล้ามเนื้อเป็นมัดของนักเพาะกาย
24) พันธุกรรม หมายถึงข้อใด
1. .สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนที่รู้จัก
2. .สิ่งที่ได้รับจากการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือจากรุ่นสู่รุ่น
3. .สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษเพียงรุ่นเดียว
4. ความผิดปกติของร่างกาย
25) นิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอ 1 โมเลกุล ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. น้ำตาลไรโบส ไนโตรจีนัสเบส และหมู่ฟอสเฟต
2. น้ำตาลไรโบส ไนโตรจีนัสเบสชนิดอะดีนีน และหมู่ฟอสเฟต
3. น้ำตาลดีออกซีไรโบส ไนโตรจีนัสเบสชนิดยูราซิล และหมู่ฟอสเฟต
4. น้ำตาลดีออกซีไรโบส ไนโตรจีนัสเบส และหมู่ฟอสเฟต
26) พอลินิวคลีโอไทด์ทั้ง 2 สาย เชื่อมต่อกันด้วยองค์ประกอบใด
1. พันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสคู่สมของแต่ละสาย
2. พันธะไฮโดรเจนระหว่างน้ำตาลเพนโทสของแต่ละสาย
3. พันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ระหว่างเบสคู่สมของแต่ละสาย
4. พันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ระหว่างฟอสเฟตของแต่ละสาย
27) โครงสร้างใดไม่พบในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนในไซโทพลาซึม
1. DNA
2. tRNA
3. mRNA
4. rRNA
28) DNA แม่แบบสายหนึ่งมีลำดับเบส ดังนี้
5/ TCCTTAGTACGGCATATC 3/
เมื่อสิ้นสุดระบวนการแปลรหัสจะได้สายพอลิเพปไทด์ที่มีกรดอะมิโนจำนวนเท่าใด
1. 3
2. 4
3. 5
4. 6
29) ในการเริ่มต้นการแปลรหัสเพื่อสังเคราะห์โปรตีน แอนติโคดอน ของกรดอะมิโนตัวแรกคือข้อใด
1. AUG
2. UAC
3. UAA
4. UAG
30) ข้อใดไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอ
1. ข้าวสีทอง
2. ข้าวโพดบีที
3. มะละกอต้านทานโรคใบด่าง
4. ล่อจากการผสมพันธุ์ของม้ากับลา
31) mRNA สายหนึ่งมีลำดับเบส ดังนี้
5/ AUGCAUGCAUGC 3/
ในการแปลรหัสเพื่อสังเคราะห์โปรตีนจะต้องมีแอนติโคดอนแบบใด ตามลำดับ
1. AUG CAU GCA UGC
2. UAC GUA CGU ACG
3. ACC GAT GUA AUG
4. GTA UAA UTA AUA
32) ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
1. การดื้อยาของเชื้อโรค
2. การสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
3. การเป็นพาหะของเชื้อโรค
4. การสร้างสิ่งมีชีวิตที่มีคุณสมบัติใหม่
33) ข้อใดมีความสำคัญที่สุดในการใช้เทคโนโลยีทาง ดีเอ็นเอ ในสิ่งมีชีวิต
1. เทคนิคที่นำมาใช้
2. การคัดเลือกของสิ่งมีชีวิต
3. คุณภาพของผลิตภัณฑ์
4. จริยธรรมของผู้ผลิตและผู้ใช้
34) สาย mRNA มีลำดับเบส
5/ AUGUAAAUCCGAU3/ ถูกสังเคราะห์มาจากสาย DNA ต้นแบบสายใด
1. 5/ TACATTTAGGCTA 3/
2. 3/ ATGTAAATCCGAT 5/
3. 3/ TACATTTAGGCTA 5/
4. 5/ AUGUAAAUCCGAU 3/
5) หาก mRNA มีลำดับเบสบนสาย
5/ CGCUGGAGCGAG 3/
ข้อใดคือกรดอะมิโนที่ถูกสังเคราะห์เรียงตามลำดับได้ถูกต้อง( ไม่ต้องพิจารณารหัสเริ่มต้น)
1. Ala Glu Gly Asn
2. Arg Trp Ser Glu
3. Glu Ser Try Arg
4. Pro Val Trp Asn
36) จากภาพ หมายเลข 1 2 3 คือกระบวนการใด ตามลำดับ
1. กระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ กระบวนการแปลรหัส กระบวนการถอดรหัส
2. กระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ กระบวนการถอดรหัส กระบวนการแปลรหัส
3. กระบวนการแปลรหัส กระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ กระบวนการถอดรหัส
4. กระบวนการแปลรหัส กระบวนการถอดรหัส กระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ
37) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ RNA
1. ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เพียงสายเดียว
2. เป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตบางชนิด
3. ประกอบด้วยเบส 4 ชนิด คือ A U C G
4. ประกอบด้วยน้ำตาลเพนโทสชนิดเดียวกับDNA
Explore all questions with a free account