No student devices needed. Know more
35 questions
การที่ส่วนลำต้นหรือรากโค้งงอนั้น อธิบายได้ว่าฮอร์โมนออกซินไปทำให้เกิดผลอย่างใด
กระตุ้นการเจริญเติบโตหรือยับยั้งการเจริญ
กระตุ้นการเจริญอย่างเดียว
ยับยั้งการเจริญอย่างเดียว
ทำให้เซลล์ขยายขนาดอย่างรวดเร็ว
ในการเคลื่อนไหวของพืชแบบ Tropism นั้น ส่วนที่โค้งงอคือส่วนใด
บริเวณเซลล์ยืดตัว
บริเวณเยื่อเจริญ
เฉพาะปลายยอด
เฉพาะปลายราก
ข้อใดมีความสัมพันธ์กับ การเคลื่อนไหวแบบนาสติก (Nastic Movement)
ความเข้มของแสง
แรงดันเต่งของเซลล์
ความเข้มของออกซิน
ความเข้มของคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อตั้งกระถางไว้ริมหน้าต่าง ต้นไม้จะเบนเข้าหาแสง นักเรียนคิดว่า ฮอร์โมน IAA เกี่ยวข้องกับการเบนของต้นไม้นี้ ควรอยู่ด้านใดของลำต้น
ด้านที่ได้รับแสง
ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านรับแสง
อยู่เท่ากันทั้งสองด้าน
IAA จะถูกทำลายหมด
Nastic Movement กับ Tropism มีลักษณะใดแตกต่างกัน
สิ่งเร้า
ชนิดของพืชที่ตอบสนอง
ทิศทางของการตอบสนอง
ระยะเวลาการตอบสนอง
การแกว่งยอดวนเวียนของฟักทองมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้าชนิดใด
แรงดึงดูดของโลก
สิ่งเร้าภายใน
อุณหภูมิของอากาศ
ปริมาณน้ำในดิน
พืชกลุ่มใดน่าจะมี Pulvinus ที่ก้านใบ
บวบ ตำลึง แตง
ข้าว ข้าวโพด หญ้า
มะพร้าว ทานตะวัน หมาก
กระถิน จามจุรี ไมยราบ
Cyclosisเป็นการไหลเวียนภายในเซลล์ของโครงสร้างใด
คลอโรพลาสต์
ไมโทคอนเดรีย
ไซโทพลาซึม
ผลึกต่างๆ
ข้อใดไม่ได้เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของพืช
การคายน้ำทางปากใบ
การหลบหนีศัตรู
การกระจายหรือรับละอองเกสร
การสังเคราะห์อาหารของพืชอย่างทั่วถึง
การที่ดอกไม้บานเป็นการเคลื่อนไหวแบบใด
Nutation
Hyponasty
Epinasty
Turgor movement
การเคลื่อนไหวของพืชอันเนื่องมาจากสิ่งเร้าหรือปัจจัยภายในต้นพืชเองเรียกว่าการเคลื่อนไหวแบบใด
Nutation
Nastic movement
Growth movement
Chemotropism
การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชดอกเป็นการเคลื่อนไหวแบบใด
Hydrotropism
Chemotropism
Thigmotropism
Geotropism
การเจริญม้วนงอของเถาองุ่นเป็นการเคลื่อนไหวแบบใด
Tropism
Nutation
Nastic movement
Thigmotropism
การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต ข้อใดจัดเป็น Chemotropism
การงอกของหลอดละอองเรณูเข้าไปในออวุล
การเจริญปลายยอดเข้าหาแสงสว่าง
การหุบใบของกระถินเมื่อขาดน้ำในตอนกลางวัน
การเจริญเติบโตของพืชเมื่อได้รับปุ๋ยอินทรีย์
ถ้านำต้นพืชที่กำลังออกราก จุ่มลงในสารละลาย Auxin เข้มข้น โดยให้เฉพาะส่วนที่เป็นรากสัมผัสกับสารละลายนี้แล้วทิ้งไว้ จะพบว่า
รากจะงอขึ้น
รากเน่าตาย
รากหยุดการเจริญเติบโต
รากจะยืดยาวออกมากกว่าปกติ
ฮอร์โมนที่ทำให้มีการหลุดของใบและผล คือข้อใด
ออกซิน
ไซโทไคนิน
จิบเบอเรลลิน
กรดแอบไซซิก
กรดแอบไซซิกเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อใด
การเกิดตายอด
การร่วงของใบ
การขยายขนาดของใบ
การแผ่และม้วนแผ่นใบ
ฮอร์โมนพืชกับการแสดงผลในข้อใดถูกต้อง
เอทิลีนกับการออกดอกของสับปะรด
ไซโทไคนินกับการเกิดรากของกิ่งปักชำ
ออกซินกับการขยายตัวของเซลล์ตรงช่องว่างระหว่างข้อ
จิบเบอเรลลินกับการข่มตาข้าง ไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโด
การหลุดร่วงของใบตามฤดูกาล เช่น ตะแบก ใบจะหลุดร่วงเกือบหมดในฤดูหนาว ทั้งนี้เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนใด
ออกซิน
เอทิลีน
จิบเบอเรลลิน
กรดแอบไซซิก
การกระตุ้นให้ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีข้อปล้องยืดยาวออก ลำต้นสูงขึ้น ควรใช้ฮอร์โมนที่สกัดจากข้อใด
เซื้อราบางชนิด
ปลายยอดพืช
ปลายรากพืช
น้ำมะพร้าว
ฮอร์โมนชนิดใดทำหน้าที่ตรงข้ามกับฮอร์โมนชนิดอื่น
ออกซิน
จิบเบอเรลลิน
ไซโทไคนิน
กรดแอบไซซิก
ในปัจจุบันไม้ผล เช่น มะม่วงออกดอก ติดผลนอกฤดูกาลมากขึ้น เนื่องจากได้รับฮอร์โมนใดจากท่อไอเสียของรถยนต์
เอทิลีน
อะเซทิลีน
ออกซิน
เฉพาะข้อ1และ2ถูก
ถ้าต้องการขยายพันธุ์พืชโดยการปักชำกิ่งให้ได้ปริมาณมากๆโดยเร็ว ควรใช้ฮอร์โมนประเภทใดช่วย เพราะเหตุใด
ออกซิน เพราะช่วยให้รากเกิดได้เร็วขึ้น
ไซโทไคนิน เพราะกระตุ้นการแบ่งเซลล์ทำให้เกิดรากเร็ว
จิบเบอเรลลิน เพราะทำให้เกิดรากได้เร็วและมีจำนวนมากขึ้น
แก๊สเอทิลีน เพราะเร่งการออกดอก จึงทำให้กิ่งเจริญเติบโตเร็วเพื่อที่จะสามารถออกดอกได้
ฮอร์โมนในข้อใดเกี่ยวข้องกับการงอกของเมล็ดมากที่สุด
จิบเบอเรลลิน
ไซโตไคนิน
เอทิลีน
กรดแอบไซซิก
ฮอร์โมนในข้อใดมีผลให้เกิดการแตกกิ่งก้านใหม่จากต้นตอพืชที่ถูกตัดต้นทิ้งไป
จิบเบอเรลลิน
ออกซิน
ไซโทไคนิน
กรดแอบไซซิค
การใส่ฮอร์โมนคู่ใดในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จะมีผลทำให้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เจริญเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์
ออกซินและไซโทไคนิน
ออกซินและจิบเบอเรลลิน
ออกซินและเอธีลิน
จิบเบอเรลลินและไซโทไคนิน
การชักนำเนื้อเยื่อแครอทเจริญเป็นแคลลัส ควรจะต้องใช้สัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินตามข้อใด
ออกซินสูงต่อไซโทไคนินต่ำ
ออกซินต่ำไซโทไคนินสูง
ออกซินต่อไซโทไคนินเท่ากัน
ไม่ขึ้นกับสัดส่วนของฮอร์โมนทั้งสอง
ถ้าต้องการเพาะเมล็ดถั่วเขียว ให้งอกโดยมีลักษณะต้นสั้น อวบอ้วน ยอดโค้งงอเป็นตะขอ ซึ่งเหมาะสมในการประกอบอาหาร ควรใช้ฮอร์โมนพืชใด
จิบเบอเรลลิน
เอทิลีน
ไซโตไคนิน
ออกซิน
ฮอร์โมนพืชในข้อใดที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อผลและใบของพืชร่วง และฮอร์โมนตัวใดที่ลดลง
ออกซิน และ เอทิลีน
กรดแอบไซซิค และ ไซโทไคนิน
ไซโทไคนิน และ กรดแอบไซซิค
เอทิลีน และ ออกซิน
ข้อใดอธิบายปรากฏการณ์ที่รากพืชโค้งเข้าหาแรงดึงดูดของโลก เมื่อวางกระถางไว้ในแนวขนานกับพื้น
positive phototropism
positive geotropism
Photoperiodism
photomorphogenesis
ข้อใดแสดงความเคลื่อนไหวแบบทรอปิกมูฟเมนต์ของพืช
ดอกบัวสายบานในเวลาเช้า
ช่อดอกทานตะวันหมุนตามดวงอาทิตย์
ดอกมะลิหุบเมื่ออากาศเย็น
ใบมะขามหุบพลบค่ำ
การหุบหรือบานของดอกบัว เป็นการตอบสนองแบบใด
Thermonasty
Photonasty
Thigmotropism
Geotropism
ข้อใดเป็นการเคลื่อนไหวที่ตอบสนองต่อการสัมผัสอย่างถาวร
การบานของดอกบัวในเวลากลางวันและหุบในเวลาเย็นใกล้ค่ำ
การเจริญของต้นพลูพันหลักที่เกาะขึ้นไปรับแสงอย่างถาวร
การหุบของใบต้นไมยราบเมื่อมีวัตถุไปสัมผัส
การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ภายในดอกของพืชดอก
เหตุการณ์ใดที่ไม่ได้เป็นผลการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
ก. การเจริญของยอดอ่อนเข้าหาแหล่งกำเนิดแสง
ข. การผสมเกสรโดยแมลง
ค. การบานของดอกไม้ในตอนเช้า และหุบของดอกไม้ในตอนเย็น
ง. การงอกของรากแรกเกิด (radicle) เข้าหาความชื้น
จ. การกระจายของเมล็ดด้วยลม
ก และ ข
ข และ ง
ค และ จ
ข และ จ
การเปิด – ปิดของปากใบอันเนื่องมาจากการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นการเคลื่อนไหวเช่นกับในข้อใด
ก. ดอกทานตะวันบานเบนเข้าหาแสง
ข. การนอนหรือหุบของใบเมื่อแสงลดลง
ค. การบานในตอนเช้าและหุบในตอนเย็นของดอกไม้บางชนิด
ข
ก และ ข
ก และ ค
ข และ ค
Explore all questions with a free account