No student devices needed. Know more
30 questions
ข้อใดคือ จุดมุ่งหมายของไตรภูมิพระร่วง
ชี้ให้เห็นความสุขสบายในแต่ละภพภูมิ
ชี้ให้เห็นผลของการทำบุญและทำบาป
ชี้นำให้มนุษย์หาทางหลุดพ้นและบรรลุนิพพาน
ชี้นำให้มนุษย์เข้าใจอนิจจังของชีวิต
ข้อใดเป็นทัศนะของกวีเกี่ยวกับการเกิดของมนุษย์ในท้องมารดา
เป็นความสุขแบบหนึ่ง
เป็นความยินดีอย่างหนึ่ง
เป็นความทุกข์แบบหนึ่่ง
เป็นสัจธรรมประการหนึ่ง
ผู้ที่มาเกิดข้อใด ขณะเมื่ออยู่ในครรภ์มารดานั้น “บ่ห่อนจะได้หลง”
ผู้มาจากนรก
ผู้มาจากสวรรค์
ผู้มาจากมนุสส
ผู้เป็นพระอรหันต์
ข้อใดเป็นภาพพจน์ที่ผู้อ่านสามารถจิตนาการได้
เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนยะหยดทุกเมื่อแล
คู้คอต่อหัวเข่า บื้องหลังกุมารนั้นต่อหลังท้องแม่ แลนั่งยองอยู่ กำมือทั้งสอง
สิ่งอาหารอันแม่กินเข้าไปในท้องนั้นไหม้แลย่อยลง ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น
ข้าวน้ำอาหารอันใดแม่กินไสร้ แลโอชานั้นก็เป็นน้ำชุ่มเข้าไปในไส้ดือนั้น แลเข้าไปในท้องกุมารนั้นแล
“......เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียดพึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดแลเอือน.....”
คำว่า “เอือน” ในข้อความนี้ มีความหมายตามข้อใด
พยาธิชนิดหนึ่ง
น้ำเหลือง
เลือด
สะอิดสะเอียน
ข้อใดเป็นการสรุปเนื้อหาเรื่อง “ไตรภูมิพระร่วง”
การเกิดของมนุษย์นั้นเป็นทุกข์ยิ่งนัก
เซลล์ที่มีขนาดเล็กมาก ครั้นโตขึ้นก็จะงอกเป็นหูด
เจริญขึ้นเป็นตัวคน ต้องนั่งคุดคู้จับเจ่าอยู่อย่างเมื่อยขบ
มีพยาธิชอนไช เนื้อตัวเลอะเทอะด้วยน้ำเลือดน้ำหนอง
สวรรค์ 6 ชั้นกับมนุสสภูมิ มีความเกี่ยวข้องกันตามข้อใด
อยู่ในรูปภูมิเหมือนกัน
อยู่ในอรูปภูมิเหมือนกัน
อยู่ในสุขคติภูมิเหมือนกัน
อยู่ในอบายภูมิเหมือนกัน
ข้อใดสะท้อนความเชื่อเรื่องบุญกรรมชัดเจนที่สุด
ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบ่มิไหม้ เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญ กุมารนั้นจะเป็นคนแลจึงให้บมิไหม้บมิตายเพื่อดั่งนั้นแลแต่กุมารนั้นอยู่ในท้องแม่
ตนเย็นนั้นแลเจ็บเนื้อเจ็บตนนักหนา ดั่งช้างสารอันท่านชักท่านเข็นออกจากประตูอันน้อยนั้น แลคับตัวออกยากลำบากนั้น ผิบ่มิดั่งนั้น ดั่งคนผู้อยู่ในนรกแล
เมื่อแรกมาเกิดในท้องแม่ก็ดี เมื่ออยู่ในท้องแม่ก็ดี เมื่อออกจากท้องแม่ก็ดี ในกาลทั้ง 3 นั้น ย่อมหลง บ่มิได้คำนึงรู้อันใดสักสิ่ง
แลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอันคับแคบนักหนา แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจนักหนา
ข้อใดมิใช่ลักษณะของทารกในครรภ์มารดาตามที่กล่าวไว้ในตอนมนุสสภูมิ
แต่นั้นไปเมื่อหน้ากุมารนั้นจึงรู้หายใจเข้าออกแล
จะงอยไส้ดือนั้นกลวงขึ้นไปเบื้องบนติดหลังท้องแม่
แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจนักหนาเหยียดตีนมือบ่มิได้
เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนยะหยดทุกเมื่อแล ดุจดั่งลิงเมื่อฝนตก แลนั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้นั้นแล
“ผิแลว่าเมื่อแม่เดินไปก็ดี นอนก็ดี ฟื้นตนก็ดี กุมารอยู่ในท้อง แม่นั้นให้เจ็บเพียงจะตายแลดุจดั่งลูกทรายอันพึ่งออกแล อยู่ธรห้อยผิบ่มิดุจดั่งคนอันเมาเหล้า...”
คำว่า “อยู่ธรห้อย” ในบทประพันธ์ข้างต้นมีความหมายตรงกับข้อใด
ไม่มีแรง
ห้อยหัว กลับหัว
เหี่ยวแห้งไม่สดชื่น
โคลงเคลง ทรงตัวไม่ได้
“ไตรภูมิพระร่วงกำหนดกรอบแห่งความประพฤติ เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข ผู้ปกครองประเทศต้องมีคุณธรรม” จากข้อความนี้ เป็นคุณค่าของเรื่องไตรภูมิพระร่วงในด้านใด
คุณค่าด้านวรรณคดี
คุณค่าด้านจริยธรรม
คุณค่าด้านสังคมวัฒนธรรม
คุณค่าด้านศาสนา
ข้อใดใช้อุปมาโวหาร
เมื่อกุมารนั้นคลอดออกจากท้องแม่ ออกแลไปบ่มิพ้นตน ตนเย็นนั้นแลเจ็บเนื้อเจ็บตนนักหนา
สิ่งอาหารอันแม่กินเข้าไปในท้องนั้นไหม้และย่อยลง ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบ่มิไหม้
เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียดพึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดและเอือนอันได้ 80 ครอก
แลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอันคับแคบนักหนา แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจนักหนา เหยียดตีนมือบ่มิได้ ดั่งท่านเอาใส่ไว้ในที่คับ
ข้อใดมีลักษณะเป็นพรรณนาโวหาร
ผิแลคนอันมาแต่นรกก็ดี แลมาแต่เปรตก็ดี มันคำนึงถึง ความอันลำบากนั้น ครั้นว่าออกมาก็ร้องไห้แล
เบื้องหลังกุมารนั้นต่อหลังท้องแม่ แลนั่งยองอยู่ในท้องแม่ แลกำมือทั้งสองคู้คอต่อหัวเข่าทั้งสอง เอาหัวไว้เหนือหัวเข่าเมื่อนั่งอยู่นั้น
เมื่อแรกมาเกิดในท้องแม่ก็ดี เมื่ออยู่ในท้องแม่ก็ดี เมื่อออกจากท้องแม่ก็ดี ในกาลทั้ง 3 นั้นย่อมหลงบ่มิได้คำนึงรู้อันใดสักสิ่ง
ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบ่มิไหม้ เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญกุมารนั้นจะเป็นคนแลจึงให้บมิไหม้บมิตายเพื่อดั่งนั้นแลแต่กุมารนั้นอยู่ในท้องแม่
ข้อใดมีลักษณะเด่นด้านการซ้ำคำเพื่อเน้นความหมาย
ลมอันมีในท้องผู้น้อยค่อยพัดออกก่อน ลมอันมี ภายนอกนั้นจึงพัดเข้านั้นนักหนา
ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดีเป็นหญิงก็ดี เกิดมีอาทิแต่เกิดเป็นกลละนั้นโดยใหญ่แต่ละวันแลน้อย
ผิแลคนอันมาแต่นรกก็ดี แลมาแต่เปรตก็ดี มันคำนึงถึงความอันลำบากนั้น ครั้นว่าออกมาก็ร้องไห้แล
แลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอันคับแคบนักหนา แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจนักหนา
จากเรื่องไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ข้อใดกล่าวถึงวิวัฒนาการขั้นสุดท้ายของก้อนเนื้อในครรภ์มารดาก่อนที่จะเจริญกลายเป็นตัวคน
เบญจสาขาหูด
เปสิ
อัมพุทะ
ฆนะ
“...ซึ่งอยู่ในท้องแม่อันเป็นที่เหม็นแลที่ออกลูกออกเต้า ที่เถ้าที่ตายที่เร่ว ฝูงตืดและเอือนทั้งหลายนั้นคนกันอยู่ในท้องแม่...”
คำว่า “ที่เร่ว” ในบทประพันธ์ข้างต้นหมายถึงอะไร
เร็ว
ที่ว่าง
ป่าช้า
เกิด กำเนิด
ข้อใดกล่าวถึงพยาธิในท้อง
อัมพุทะนั้นโดยใหญ่ไปทุกวารไสร้ ครั้นได้ถึง 7 วารข้นเป็นดั่งตะกั่วอันเชื่อมอยู่ในหม้อเรียกชื่อว่าเปสิ
เมื่่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียด พึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดและ เอือนอันได้ 80 ครอก
จะงอยไส้ดือนั้นกลวงขึ้นไปเบื้องบนติดหลังท้องแม่แลข้าว น้ำอาหารอันใดแม่กินไสร้ แลโอชารสนั้นก็เป็นน้ำชุ่มเข้าไปในไส้ดือนั้น
ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดีเป็นหญิงก็ดี เกิดมีอาทิแต่เกิดเป็นกลละนั้นโดยใหญ่แต่ละวันแลน้อย ครั้นถึง 7 วัน เป็นดั่งน้ำล้างเนื้อนั้นเรียกว่าอัมพุทะ
ข้อใดเป็นลักษณะพิเศษของทารกผู้มาเกิดเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระอรหันต์ และพระอัครสาวก
ครั้นว่าออกมาไสร้ ก็ย่อมหัวร่อก่อนแล
พัดให้ตัวกุมารนั้นขึ้นหนบน ให้หัวลงมาสู่ที่จะออกนั้น
เมื่ออยู่ในท้องแม่นั้นบ่ห่อนจะรู้หลงแลยังคำนึงรู้อยู่ทุกอัน
ครั้นออกจากท้องแม่ไสร้ ลมอันมีในท้องผู้น้อยค่อยพัดออกก่อน
ข้อใดมีลักษณะเด่นด้านการหลากคำที่มีความเหมือนกันหรือคล้ายกัน
เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนยะหยดทุกเมื่อแล
เมื่อจะคลอดออก ตนกุมารนั้นเย็น เย็นเนื้อเย็นใจ
แลภูเขาอันชื่อคังไคยบรรพตหีบแลเหงแลบดบี้ นั้นแล
คนผู้ใดจากแต่นรกมาเกิดจั้น เมื่อคลอดออกตนกุมารนั้น ร้อน
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วง
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เตภูมิกถา
เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ของพญาเลอไทย
พระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้เทศนาโปรดพระราชมารดา
เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อเรื่องโลกและจักรวาลของคนไทย
ข้อใดไม่มีการใช้ภาพพจน์อุปมา
คนผู้ใดจากแต่นรกมาเกิดนั้น เมื่อคลอดออกตนกุมารนั้นร้อน
อันว่าสายดือแห่งกุมารนั้นกลวงดั่งสายก้านบัวอันมีชื่อว่าอุบล
ในท้องแม่นั้นร้อนนักหนาดุจดั่งเราเอาใบตองเข้าจ่อตน แลต้มในหม้อนั้นไสร้
เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนยะหยดทุกเมื่อแล ดุจดั่ง ลิงเมื่อฝนตก แลนั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้นั้นแล
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง
ผนวชเป็นพระภิกษุขณะครองราชย์
เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย
เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ทรงครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ 6 ปี
เมื่อทรงครองราชย์แล้ว มีพระนามเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1
“ไตรภูมิ” ซึ่งหมายถึงภูมิทั้งสาม คือภูมิใดบ้าง
สวรรค์ มนุษย์ นรก
สวรรค์ มนุษย์ บาดาล
กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
กามภูมิ อกามภูมิ นิพพาน
ข้อใดแสดงให้เห็นว่าผู้แต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงเข้าใจเรื่องกำเนิดของมนุษย์อย่างความคิดทางวิทยาศาสตร์
ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดีเป็นหญิงก็ดี เกิดมีอาทิแต่เกิดเป็นกลละนั้นโดยใหญ่แต่ละวันแลน้อย
ฝูงตืด แลเอือนทั้งหลายนั้นคนกันอยู่ในท้องแม่
ตืดแลเอือนฝูงนั้นเริมตัวกุมารนั้นไสร้ ดุจดั่งหนอนอันอยู่ในปลาเนา
ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบ่มิไหม้ เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญกุมารนั้นจะเป็นคนแล
ข้อใดไม่ได้ใช้ภาพพจน์อุปมา
เล็บมือเขานั้นแดงงามดั่งน้ำครั่ง อันท่านแต่งแล้วแลแต้มไว้
แลสองแก้มเขานั้นไสร้งามเป็นนวลดั่งแกล้งเอาแป้งผัด
หน้าเขานั้นหมดเกลี้ยงปราศจากมลทินหาฝ้าไฝบ่มิได้
แลเห็นดวงหน้าเขาไสร้ดุจดั่งพระจันทร์วันเพ็งบูรณ์นั้น
ข้อใดใช้คำสัมผัสคล้องจองทำให้เกิดความงามของภาษา
บ่ห่อนได้หายใจเข้าออกเสียเลย
แลแต่นั้นค่อยไปเบื้องหน้าทุกวัน
อยู่เย็นเป็นสุขสำราญบานใจ
บ่ห่อนได้เหยียดตีนมือออกดั่งเราท่านทั้งหลายนี้สักคาบหนึ่งเลย
โสฬสพรหม อยู่ในภูมิใด
กามภูมิ
ฉกามาพจรภูมิ
อรูปภูมิ
รูปภูมิ
“ สมบัติในนิพพานนันสุขพ้นประมาณ แลว่าหาอันจะเปรียบบมิได้ บมิรู้เป็นอาพาธพยาธิสิ่งใด บมิรู้เถ้า บมิรู้แก่ บมิรู้ตาย บมิรู้ฉิบหาย บมิรู้พลัดพรากจากกันสักอัน ”
ข้อความข้างต้นใช้กลวิธีการเขียนแบบใด
ใช้จินตภาพ คำคล้องจอง
หลากคำ ซ้ำคำ
ย้ำคำ และจังหวะ
เปรียบเทียบ เร้าใจ
“ จึงลมกรรมชวาตก็พัดให้หัวผู้น้อยนั้นลงมาสู่ที่จะออกแลคับแคบ แอ่นยันหนักหนา”
ข้อความที่ขีดเส้นใต้หมายถึงข้อใด
ลมที่พัดให้ทารกไม่ร้อน
ลมอันมารดาปล่อยออกมาเมื่อหายใจออก
ลมที่เกิดในเวลามารดาจะคลอดบุตร
ลมหายใจเข้าของมารดาก่อนการคลอด
สวรรค์ชั้นใด เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ดาวดึงสา
จตุมหาราชิกา
ดุสิตา
ยามา
Explore all questions with a free account