No student devices needed. Know more
20 questions
บุคคลในข้อใดเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ก. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ข. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ค. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตัวอักษรที่จารึกในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. ๑๘๒๒
ข. พ.ศ. ๑๘๒๖
ค. พ.ศ. ๑๘๓๕
ง. พ.ศ. ๑๘๖๐
ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นด้านลักษณะคำประพันธ์ในศิลาจารึกหลักที่ ๑
ก. เป็นร้อยแก้วมีสัมผัส
ข. ใช้ประโยคสั้น ๆ และชัดเจน
ค. มีการซ้ำคำและเน้นย้ำความ
ง. ใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นจำนวนมาก
ผู้ใดเป็นผู้ค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑
ก. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ข. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชคือใคร
ก. พ่อขุนบานเมือง
ข. พ่อขุนศรีนาวนาถม
ค. พระยาศรีจันทราธิบดี
ง. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. ๑๘๒๖
ข. พ.ศ. ๑๘๖๒
ค. พ.ศ. ๒๓๖๗
ง. พ.ศ. ๒๓๗๖
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๑ มีเนื้อหากล่าวถึงอะไร
ก. พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง
ข. ธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่ชาวสุโขทัย
ค. การเมือง การปกครอง การค้าขายของชาวสุโขทัย
ง. การทำสงครามขยายอาณาเขตของพ่อขุนรามคำแหง
“…เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู
กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู
กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี
กูเอามาแก่พ่อกู...”
ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นคุณค่าด้านใด
ก. ความมั่งคั่ง
ข. ความกตัญญู
ค. ความมีอำนาจ
ง. ความรักในเครือญาติ
ข้อใดแปลศัพท์ไม่ถูกต้อง
ก. เกลื่อนเข้า หมายถึง เคลื่อนพลเข้าทำศึก
ข. บำเรอ หมายถึง รับใช้ , ปรนนิบัติ
ค. หมากหวาน หมายถึง ผลไม้เชื่อม
ง. ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ไพร่พล
ข้อใดเป็นที่มาของชื่อ “พระรามคำแหง”
ก. ความสามารถการประดิษฐ์อักษรไทย
ข. มีหลักการบริหารบ้านเมืองแบบพ่อปกครองลูก
ค. มีความกตัญญูต่อบิดามารดา รวมทั้งเอาใจใส่ดูแลพี่ชาย
ง. ทรงช่วยพระบิดากระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดจนได้รับชัยชนะ
ข้อใดสะท้อนค่านิยมทางด้านการเป็นผู้นำที่ดี
ก. พ่อกูจึงขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างชุนสามชน
ข. กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู
ค. กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาเวนแก่พ่อกู
ง. กูบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู
๑๒. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะตัวอักษรสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
ก. สระอา ให้วางไว้หลังพยัญชนะตามปกติ
ข. สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกดตาม ใช้ วว เช่น ตวว อ่านว่า ตัว
ค. มีการใช้วรรณยุกต์ ๔ รูป คือ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา
ง. สระอะ เมื่อมีตัวสะกดให้ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น ขบบ (ขับ), ขนน (ขัน)
“กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู
พี่กูตายจึ่งได้เมืองแก่กูทั้งกลม”
ข้อความข้างต้น คำว่า “ทั้งกลม” หมายความว่าอย่างไร
ก. ทั้งหมด
ข. ทั้งปวง
ค. ทุกประการ
ง. ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในสมัยสุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์
ก. เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย
ข. ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า
ค. เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าว
ง. เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พีน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด
ข้อใดไม่ใช่คุณค่าของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ก. เป็นวรรณคดีที่มีไว้อ่านเพื่อความบันเทิง
ข. เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
ค. เป็นหลักฐานในการศึกษาวิวัฒนาการทางอักษรไทยและอักขรวิธีไทย
ง. เป็นการบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรืองในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
จงนำคำศัพท์มาเติมให้ถูกต้อง ตรงกับความหมาย
คำในข้อใดมีความหมายว่า ชนะ
จงนำคำศัพท์มาเติมให้ถูกต้อง ตรงกับความหมาย
คำในข้อใดมีความหมายว่า เคลื่อนพลเข้าทำศึก
จงนำคำศัพท์มาเติมให้ถูกต้อง ตรงกับความหมาย
คำในข้อใดมีความหมายว่า สอง
จงนำคำศัพท์มาเติมให้ถูกต้อง ตรงกับความหมาย
คำในข้อใดมีความหมายว่า ชนช้าง
จงนำคำศัพท์มาเติมให้ถูกต้อง ตรงกับความหมาย
คำในข้อใดมีความหมายว่า คนโต
Explore all questions with a free account