No student devices needed. Know more
30 questions
1. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของการอ่านออกเสียง
ก. ความบันเทิง
ข. แถลงนโยบาย
ค. ถ่ายทอดข่าวสาร
ง. เพื่อขอความคิดเห็น
2. ข้อใดคือการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง
ก. กำหนดท่าทาง
ข. ทดลองออกเสียง
ค. ทำความเข้าใจ
ง. ศึกษาเจตนาของผู้แต่ง
3. เครื่องหมาย / หมายความว่าอย่างไร
ก. หยุดอ่าน
ข. หยุดหายใจ
ค. เว้นวรรคเล็กน้อย
ง. ให้สังเกตข้อความ
4. การใส่อารมณ์ในการอ่านมีผลดีอย่างไร
ก. ผู้ฟังชื่นชม
ข. ทำให้น่าสนใจ
ค. ทำให้ผู้อื่นมีชีวิตชีวา
ง. ทำให้ชวนฟังยิ่งขึ้น
5. ข้อใดแบ่งจังหวะได้ถูกต้อง (ค)
ก. คนมี/จำนวนไม่น้อย/เชื่อว่าความตายเป็นสิ่งที่จัดการได้//จัดการในที่นี้หมายถึง/
ข. เราเชื่อว่า/ทุกอย่างจัดการได้//เพราะเรามีเทคโนโลยี/เรามีเงิน/เรามีความรู้/เราจึงมั่นใจว่า/เรา
สามารถจัดการ/สิ่งต่างๆได้
ค. เราสามารถจัดการธรรมชาติ/เราสามารถจัดการสังคม/และเราเชื่อว่า/เราสามารถจัดการร่างกาย
ของเราได้
ง. โฆษณาทุกวันนี้/บอกเราว่าทุกอย่างจัดการได้//เราจึงเชื่อจริงๆ ว่า/ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จัดการไม่ได้/
รวมทั้งความตาย
6.ข้อใดคือหลักการอ่านจับใจความสำคัญ
ก. ค้นหาสาระ
ข. ค้นหาข้อคิดเห็น
ค. ค้นหาข้อเท็จจริง
ง. ค้นหาความสำคัญ
7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับใจความสำคัญ
ก. ครอบคลุมข้อความอื่นๆ
ข. ทำให้เกิดเรื่อง
ค. เด่นเฉพาะตัว
ง. ถูกทุกข้อ
8.ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนอ่านจับใจความสำคัญ (ง)
ก. อ่านผ่านๆ
ข. อ่านให้ละเอียด
ค. อ่านซ้ำ
ง. คัดลอก
9. ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนย่อความ
ก. ภาษาต้องกะทัดรัดได้ใจความ
ข.อ่านเรื่องที่ย่ออย่างละเอียด
ค. ตัดคำราชาศัพท์ทิ้ง
ง.ไม่ใช้อักษรย่อ
10. ย่อความประกอบด้วยส่วนสำคัญอะไรบ้าง
ก. ใจความสำคัญ สรุป
ข. คำขึ้นต้น คำลงท้าย
ค. ส่วนนำ ใจความสำคัญ
ง. ส่วนนำ ส่วนสรุป
11. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ละครพูดเริ่มมีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประทานสามัคยาจารย์สโมสร
ค. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ให้กำเนิดบทละครพูด
ง. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งทวีปัญญาสโมสรขณะที่ทรงศึกษา
ในประเทศอังกฤษ
12. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของบทละครพูด
ก. เนื้อเรื่องสนุกสนาน
ข. เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักเท่านั้น
ค. บทสนทนาคมคาย
ง. ตัวละครพูดโต้ตอบกันเหมือนในชีวิตจริง
13. ข้อคิดอันสำคัญที่สุดของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก คืออะไร
ก. ความกตัญญูต่อแผ่นดิน
ข. ความรู้สึกเห็นแก่ลูกของผู้เป็นพ่อกับแม่
ค. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ง. ความรักในศักดิ์ศรี
14. ตัวละครที่สำคัญที่สุดของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก คืออะไร
ก. นายล้ำ
ข. แม่นวล
ค. แม่ลออ
ง. พระยาภักดี
15. เหตุผลที่ทำให้พระยาภักดีไม่ต้องการให้นายล้ำพบแม่ลออ คือข้อใด
ก. ต้องการให้วิญาณแม่นวลสบายใจ
ข. รังเกียจนายล้ำเป็นการส่วนตัว
ค. นายลำประพฤติตัวไม่ดี
ง. กลัวว่าแม่ลออจะทิ้งตนไป
16. ความ ”เห็นแก่ตัว” ของนายล้ำได้เปลี่ยนเป็นความ “เห็นแก่ลูก” ในตอนไหน
ก. เมื่อได้รับความรู้สึกที่ดีของแม่ลออที่มีต่อตน
ข. เมื่อหมดหนทางทำมาหากิน ไม่รู้จะผินหน้าไปหาใครแล้ว
ค. เมื่อได้รับทราบว่าแม่ลออกำลังจะแต่งงาน
ง. เมื่อพระยาภักดีเสนอเงินให้ ๑๐๐ ชั่ง
17. พฤติกรรมที่แสดงความขัดขวางนายล้ำของพระยาภักดีได้แสดงให้เห็นความดีอะไรในตัวของ
พ่อบุญธรรม
ก. พ่อบุญธรรมก็รักลูกได้มากเท่าหรืออาจจะมากกว่าพ่อบังเกิดเกล้าได้
ข. พ่อบุญธรรมรักลูกมากกว่าพ่อบังเกิดเกล้า
ค. พ่อบุญธรรมเลี้ยงลูกได้ดีกว่าพ่อบังเกิดเกล้า
ง. พ่อบุญธรรมมักไม่ต้องการให้ลูกสาวพบพ่อที่แท้จริง
18. การที่พระยาภักดีพูดว่า”ฉันไม่สู้แน่ใจ ดูเหมือนจะจำได้คลับคล้ายคลับคลา”เป็นการกล่าวแสดง
ความรู้สึกอย่างไร
ก. เด็ดบัวไม่เหลือใย
ข. น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
ค. บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น
ง. อาบน้ำร้อนมาก่อน
19. คำว่า เป็นโทษ หมายความว่าอย่างไร
ก. ได้รับโทษ ติดคุก
ข. ถูกนินทา
ค. ถูกตราหน้าว่าชั่ว
ง. ความชั่ว
20. ใต้เท้ามีบุญขึ้น แล้วคำที่ขีดเส้นใต้ตรงกับข้อใด
ก.ได้ทำบุญไว้มากแล้ว
ข. มีบุญวาสนาขึ้นแล้ว
ค. ลาภผลมาก
ง. รับตำแหน่งสูงสุด
21. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. คำสรรพนามในภาษาไทยมีหลายระดับต้องเลือกใช้ให้ถูก
ข. คำกริยาในภาษาไทยมีหลายระดับต้องเลือกใช้ให้ถูก
ค. คำวิเศษณ์ในภาษาไทยมีหลายระดับต้องเลือกใช้ให้ถูก
ง. คำลักษณนามในภาษาไทยมีหลายระดับต้องเลือกใช้ให้ถูก
22. ข้อใดใช้ภาษาในระดับพิธีการ
ก. ประกาศทางราชการ
ข. การสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี
ค. การกล่าวถวายพระพรในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ง. การกล่าวเปิดสัมมนาทางวิชาการเรื่องภาวะโลกร้อน
23. ภาษาในระดับใดใช้มากในชีวิตประจำวันทั้งการพูดและการเขียน
ก. ระดับทางการ
ข. ระดับกึ่งทางการ
ค. ระดับสนทนา
ง. ระดับกันเอง (ภาษาปาก)
24. ข้อใดใช้ภาษาระดับเดียวกัน
ก. จดหมายราชการ สารคดีท่องเที่ยว
ข. การเขียนตอบข้อสอบอัตนัย หนังสือแบบเรียน
ค. บทสนทนาในนวนิยาย บทความในหนังสือพิมพ์
ง. เขียดจดหมายถึงเพื่อนสนิท การสนทนากับคนที่มาพบกันครั้งแรก
25. เหตุใดการใช้ระดับระดับภาษาในการส่งสารจะต้องพิจารณา
“เนื้อเรื่อง” ที่จะส่งด้วย
ก. เพราะผู้รับสารจะได้เข้าใจเนื้อเรื่องง่าย เช่น ภาษาในนวนิยาย
ข. เพราะเนื้อเรื่องมีหลายลักษณะ เช่น จดหมาย ประกาศ
ค. เพราะเนื้อเรื่องสัมพันธ์กับฐานะของบุคคล
ง. เพราะเนื้อเรื่องเป็นสาระสำคัญในการส่งสาร
26. ประโยค หมายความว่าอย่างไร
ก. กลุ่มคำที่มีความหมาย
ข. กลุ่มคำที่แสดงความคิดและอารมณ์
ค. กลุ่มคำที่นำมาเรียบเรียงกันให้ได้ใจความสมบูรณ์
ง. กลุ่มคำที่มีความชัดเจนแสดงความคิดเห็นที่สมบูรณ์
27. ข้อใดเป็นส่วนประกอบของประโยคสามัญ
ก. ประธาน กริยา
ข. ประธาน กริยา ส่วนขยาย
ค. ประธาน กริยา ส่วนขยาย คำเชื่อมกริยา
ง. ประธาน กริยา กรรม ส่วนขยาย คำเชื่อมกริยา
28. ข้อใดคือลักษณะของประโยคซ้อน
ก. ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ มุขยประโยคและอนุประโยค
ข. ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ นามานุประโยคและ
คุณานุประโยค
ค. ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ นามานุประโยคและ
วิเศษณานุประโยค
ง. ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ วิเศษณานุประโยคและนามานุประโยค
29. ข้อใดคือจุดเด่นของประโยครวม
ก. มีสองประโยค
ข. มีสันธานเชื่อม
ค. แยกประโยคได้
ง. มีความเป็นอิสระ
30. “คุณพ่อบอกลูกๆ ว่าทุกคนต้องเข้มแข็งอดทนร่วมมือ ร่วมใจกัน
ฝ่าฟันกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น จนยากที่จะแก้ไขได้” ข้อความนี้
เป็นประโยคชนิดใด
ก. ประโยคซ้อน
ข. ประโยคสามัญที่ซับซ้อน
ค. ประโยครวมที่ซับซ้อน
ง. ประโยคซ้อนที่ซับซ้อน
Explore all questions with a free account