No student devices needed. Know more
15 questions
ข้อใดเป็นกลอนขับร้อง
กลอนเสภา
กลอนนิราศ
กลอนเพลงยาว
กลอนหก
ข้อใดกล่าวถึงลักษณะกลอนสุภาพได้ถูกต้อง
กลอนเป็นร้อยกรองที่แต่งไม่ยากแต่คนไทยไม่ค่อยนิยม
กลอนมีหลายประเภทแต่ชื่อเรียกมีเพียงชื่อเดียว
กลอนเป็นร้อยกรองประเภทบังคับ สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์
กลอนมีคำในแต่ละวรรคมีจำนวนตั้งแต่ 5-8 คำ
กลอนสุภาพหรือกลอนแปด แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
2 ประเภท คือ กลอนตลาด และกลอนเสภา
2 ประเภท คือ กลอนขับร้อง และกลอนเพลง
2 ประเภท คือ กลอนสักวา และกลอนดอกสร้อย
2 ประเภท คือ กลอนนิทาน และกลอนเพลงยาว
เสียงวรรณยุกต์ที่บังคับในคำสุดท้ายในแต่ละวรรคข้อใด ไม่ถูกต้อง
คำสุดท้ายวรรคที่ 1 ไม่นิยมเสียงสามัญ
คำสุดท้ายวรรคที่ 2 ไม่นิยมเสียงจัตวา
คำสุดท้ายวรรคที่ 3 ไม่นิยมเสียงจัตวา
คำสุดท้ายวรรคที่ 4 นิยมเสียงสามัญ
คำใดเป็นคำขึ้นต้นของกลอนบทละคร
มาจะกล่าวบทไป
ครานั้น
สักวา
ครั้งนั้น
กลอนใดที่ไม่ลงท้ายด้วย “เอย”
กลอนสักวา
กลอนดอกสร้อย
กลอนนิทาน
กลอนสด
ข้อใด ไม่มีคำที่สัมผัสกัน
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก
เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์
เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม
เหตุใดกลอนสุภาพจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากลอนแปด
เพราะหนึ่งบทมีแปดวรรค
เพราะหนึ่งบทสัมผัสแปดที่
เพราะหนึ่งวรรคมีแปดพยางค์(คำ)
เพราะทุกวรรคจะต้องสัมผัสในพยางค์ที่แปด
กลอนสุภาพที่ยกมานี้ดีเด่นด้านใด
“ทั้งยุงชุมรุมกัดปัดเปรียะปะ เสียงผัวะผะพึบพับปุบปับแปะ”
การใช้คำซ้า
การสัมผัสสระ
การเล่นเสียงวรรณยุกต์
การสัมผัสอักษร
ข้อใด ไม่ใช่ข้อบังคับฉันทลักษณ์ของกลอน
สัมผัสในเป็นสัมผัสอยู่ภายในวรรค
สัมผัสนอกเป็นสัมผัสระหว่างวรรค
สัมผัสเชื่อมระหว่างบทกำหนด ๑ แห่ง
คำท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคหลัง
ข้อใดเรียงลำดับได้ถูกต้อง
รับ รอง สดับ ส่ง
รอง รับ สดับ ส่ง
สดับ รับ รอง ส่ง
สดับ รอง รับ ส่ง
ข้อใดมีสัมผัสระหว่างวรรค
นำกลกลอนลีลามาเชิดชู ตามแบบครูชี้แนะให้แกะรอย
พรมชีวิตชุ่มชื่นให้พืชพันธุ์ มอบแมกไม้มวลมนุษย์สุดพรรณนา
แก้วประกายพรายพร่างทางกลอนแก้ว วามวับแวมวาดลายไว้งามหรู
ละอองโปรยเปียกปอนตอนเย็นย่ำ สายฝนพรมพรูพร่างสร้างสุขสรรค
“ภาษิตว่าฝนทั่งให้เป็นเข็ม เพียรให้เต็มสามารถอาจเป็นผล”
คำในข้อใดเป็นสัมผัสนอก ในบทประพันธ์
เป็น – เต็ม
เข็ม – เต็ม
ทั่ง – เป็น
ฝน – ผล
“จึงควรไทยสามัคคีเพื่อพี่น้อง ร่วมปกป้องความเป็นไทยมิให้หาย”
คำในข้อใดเป็นสัมผัสนอก ในบทประพันธ์
ไท – ให้
น้อง – ป้อง
ปก – ป้อง
สามัคคี – พี่
ข้อความในข้อใดควรเป็นวรรครับ
ตูมตั้งบังใบอรชร
นิลบลพ้นน้ำขึ้นรำไร
น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา
ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว
Explore all questions with a free account