No student devices needed. Know more
30 questions
เหตุใดจึงมีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
เพราะในปัจจุบันมีคนนิยมใช้กันมาก
เพราะต้องการให้ประเทศไทยทันสมัยมากขึ้น
เพราะมีการติดต่อระหว่างประเทศทั้งด้านการทูต การค้าขาย
เพราะภาษาต่างประเทศมีมากจึงต้องนำมาใช้ในประเทศไทยบ้าง
ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศทุกคำ
เกาเหลา ข้าวเปล่า
บันได แก้วน้ำ
ทุเรียน จานข้าว
กัลปังหา กีตาร์
ข้อใดกล่าวถึงข้อสังเกตลักษณะของคำที่มาจากภาษาเขมรได้ถูกต้อง
เป็นคำที่สะกดตรงตามมาตรา
มักใช้พยัญชนะ ศ ษ
มีวรรณยุกต์หลากหลาย
มักจะเป็นคำควบกล้ำ
ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาเขมร
ปวง
ชน
สฤษฏ์
ถวาย
ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษทุกคำ
คอนเสิร์ต แท็กซี่ นอต
เกียร์ ดีเซล จับกัง
ทีวี บัดกรี ชอล์ก
จาระบี เรดาห์ สักหลาด
ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาจีนทุกคำ
โบตั๋น กุยช่าย เท็มปุระ
คะน้า ท้อ สึนามิ
ก๋วยเตี๋ยว โจ๊ก โอเลี้ยง
จับเลี้ยง ซาโยนาระ โหวงเฮ้ง
ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรทุกคำ
ยูโด จรวด บรรทม
โควตา ธำมรงค์ โก๋แก่
กำเนิด บันได ตรัส
บะหมี่ ตำรวจ คาราเต้
“กัปตันทีมฟุตบอลของไทยได้รับแรงเชียร์จากแฟนคลับอย่างแน่นอน” มีคำที่มาจากภาษาอังกฤษกี่คำ
๔ คำ
๕ คำ
๖ คำ
๗ คำ
“ก๋งของฉันชอบกิน แป๊ะซะ พะโล้ ก๋วยจั๊บ แต่ไม่ชอบกิน เต้าทึง เต้าหู้ เต้าส่วน” ชื่ออาหารที่กล่าวถึงมาจากภาษาใด
ไทยแท้
จีน
ชวา
เขมร
คำว่า “นีออน” เป็นคำที่มาจากภาษาใด
จีน
ญี่ปุ่น
เขมร
อังกฤษ
บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี
รื่นเริงบันเทิงมี บันลือลั่นสนั่นดัง
คำว่า “บัน” ที่ปรากฏในบทร้อยกรองข้างต้น เป็นคำที่มาจากภาษาใด
เขมร
ไทยแท้
จีน
โปรตุเกตุ
บุคคลในข้อใดมีวิธีการใช้คำยืมภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยได้ถูกต้อง
ขจรศักดิ์นำคำภาษาเขมรมาเปลี่ยนตัวสะกดให้ผิดไปจากเดิม คือคำว่า จัส เป็น จัด
นารีรัตน์นำคำภาษาอังกฤษมาใช้โดยใช้ตัวสะกดคำเดิม คือคำว่า ปอนด์ เป็น ปอนด์
บรรลือศักดิ์ใช้รูปและเสียงให้เหมือนเสียงเดิม คือคำว่า อั้งโล่ เป็นอั้งโล่
บุญฑิตาแผลงสระและพยัญชนะให้เหมือนคำเดิม คือคำว่า บรรจง เป็น บรรจง
ข้อใดมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษมากที่สุด
การบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอช่วยยืดกล้ามเนื้อและสลายไขมัน ทำให้กล้ามเนื้อฟิตและเฟิร์มยิ่งขึ้น
ภาชนะเมลามีนสามารถทนความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๑๐๐ องศาเซลเซียสได้โดยไม่เกิดอันตราย
การรับประทานผลไม้ทำให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์และวิตามินซีในปริมาณพอเหมาะกับความต้องการ
หน่วยงานนี้ใช้บุคลากรที่มีอยู่เขียนเว็บไซต์ใหม่ เพื่อรองรับเทคโนโลยีและโปรแกรมใหม่ๆ
ข้อใดไม่มีคำภาษาบาลีและสันสกฤต
ทรงประดิษฐ์คิดใส่ให้เป็นกลอน ไว้รำเต้นละครงอนจริต
แต่ก่อนเก่าได้ดูอยู่เป็นนิจ บำรุงจิตต์ชาวประชาข้าราชการ
ตั้งโรงต้นสนคนแออัด ซ้อมหัดแก้ไขในราชฐาน
เมื่อช้างเผือกมาใหม่ได้ออกงาน ทั้งเครื่องอานโอ่อ่าน่ารัก
ประโยคในจ้อใด ไม่มี คำบาลีสันสกฤตอยู่เลย
ถ้ำหลวงเขานางนอนมีฤๅษีอยู่ข้างใน
ศาสตราจารย์ค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่
โรงเรียนขายก๋วยเตี๋ยวถูกมาก
เป็นนักเรียนควรมีวิทยา จรรยา ปัญญา
ฉิมพลี วิธีการสะกดคำตามหลักภาษาบาลี อยู่ในวรรคใด และสะกดอย่างไร
วรรคกะ สะกดด้วยแถวที่ 1 ตามด้วยแถวที่ 2
วรรคจะ สะกดด้วยแถวที่ 3 ตามด้วยแถวที่ 4
วรรคฏะ สะกดด้วยแถวที่ 5 ตามด้วยแถวที่ 2
วรรคปะ สะกดด้วยแถวที่ 5 ตามด้วยแถวที่ 3
วิตถาร มีวิธีการสะกดคำตามหลักภาษาบาลี อยู่ในวรรคใด และสะกดอย่างไร
วรรคกะ สะกดด้วยแถวที่ 1 ตามด้วยแถวที่ 2
วรรคตะ สะกดด้วยแถวที่ 1 ตามด้วยแถวที่ 2
วรรคจะ สะกดด้วยแถวที่ 1 ตามด้วยแถวที่ 1
วรรคตะ สะกดด้วยแถวที่ 1 ตามด้วยแถวที่ 1
สำนวนไทยในข้อใดไม่มีคำยืมภาษาเขมร
มาเหนือเมฆ
โปรดสัตว์ได้บาป
ลูกหน้าปะจมูก
ไม่พ้นชวดฉลู
คำในข้อใดเป็นคำภาษาเขมร
เพลิง
เพชร
มรกต
บูรณ
คำในข้อใดยืมมาจากภาษาสันสกฤตทุกคำ
กรีฑา อัชฌาสัย สมุทร
กีฬา บรรทัด พรรณนา
ศิษย์ พฤกษา เคราะห์
พาณิชย์ มัธยมศึกษา ปราชญ์
ข้อใดเป็นลักษณะของคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย
ส่วนใหญ่เป็นเสียงสามัญ
ไม่มีตัวสะกดแต่นิยมผสมด้วยสระเสียงยาว
พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางมากกว่าอักษรอื่น
ส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว ไทยนำมาสร้างคำใหม่
เป็นคำประสม
คำว่า “เมตตา วิญญาณ” ยืมมาจากภาษาใด
บาลี
ชวา
เขมร
สันสกฤต
คำที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน มักจะยืมมาจากภาษาใด
ภาษาชวา - มาลายู
ภาษาอังกฤษ
ภาษาเขมร
ภาษาจีน
คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษเริ่มเข้ามาในสมัยใด
รัชกาลที่ 1
รัชกาลที่ 2
รัชกาลที่ 3-4
รัชกาลที่ 4-6
คำภาษาชวาเข้ามาในภาษาไทยพร้อมกับวรรณคดีเรื่องใด
ดาหลังและอิเหนา
ลิลิตเพชรมงกุฎ
ระเด่นลันได
รามเกียรติ์
ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของภาษาชวา-มลายู
เป็นคำโดด
ใช้รูปวรรณยุกต์เอก โท
ไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ
เป็นคำที่แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณี
ข้อใดไม่ใช่ลักษณะภาษาอังกฤษในภาษาไทย
ใช้ไม้ทัณฑหาตกำกับพยัญชนะที่ไม่ต้องการออกเสียง
เปลี่ยนคำและเสียงให้ผิดไปจากเดิม
เขียนรูปคำตรงตามเสียงในภาาษาเดิม
ไม่มีการเพิ่มเสียงพยัญชนะควบกล้ำ
ข้อใดไม่ใช่คำภาษาจีนเกี่ยวกับอาหารและขนม
แป๊ะซะ
อั้งโล่
แฮ่กึ๊น
เจี๋ยน
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการยืมคำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้ในภาษาไทย
อิทธิพลทางศาสนา
ความสัมพันธ์ทางการค้า
ความสัมพันธ์ทางการทูต
อิทธิพลทางด้านฐานะทางสังคม
ข้อใดมีคำภาษาเขมร ๒ คำ และคำภาษาชวา-มลายู ๑ คำ
จำหน่าย ยี่เก โนรี
เสวย แข บุหงา
ขจี บำเพ็ญ กังวล
บุหงา ปั้นเหน่ง ก ระชัง
Explore all questions with a free account