No student devices needed. Know more
30 questions
๑. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย
ก. นำโครงเรื่องเหตุการณ์มาจากพระราชพงศาวดาร แต่งเสริมจินตนาการบางส่วน
ข. ใช้คำประพันธ์ประเภทร่ายยาวและโคลงสุภาพสลับกัน
ค. มีลักษณะเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ ยอพระเกียรติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ง. ผู้ทรงนิพนธ์คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวาสุกรี
๒. บุคคลในข้อใดไม่ปรากฏในเหตุการณ์ในลิลิตตะเลงพ่าย
ก. มังสามเกียด
ข. นันทบุเรง
ค. บุเรงนอง
ง. เจ้าพระยาไชยานุภาพ
๓. “ไปเหยียบแดนปราจิน” ข้อความดังกล่าวสื่อถึงดินแดนใด
ก. เมืองหงสาวดี
ข. เมืองปราจีนบุรี
ค. เมืองเชียงใหม่
ง. กรุงศรีอยุธยา
“แม้เจ้าคร้ามเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา เอาพัสตราสตรี สวมอินทรีย์สร้างเคราะห์” ข้อความข้างต้นมีน้ำเสียงอย่างไร
๑. ก. เสียดสี
ข. รำคาญใจ
ค. ประชดประชัน
ง. เหนื่อยใจ
๑. “จงเจริญชเยศด้วยเดชะชาวอยุธย์อย่าพะพ่อได้จงแพ้พินาศพระวิริยภาพพ่อนาชนะแด่สองท่านไท้ธิราชเจ้าจอมสยาม” เมื่อแบ่งวรรคคำประพันธ์ข้างต้น จะมีลักษณะคำประพันธ์ใด
ก. โคลงสองสุภาพ
ข.โคลงสามสุภาพ
ค. โคลงสี่สุภาพ
ง.ร่ายสุภาพ
“สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด”
คำประพันธ์ข้างต้นข้างกวีใช้กลวิธีในการแต่งอย่างไร
ก. เล่นเสียงสระ
ข. เล่นสัมผัสอักษร
ค. ซ้ำคำ
ง. เล่นคำ
คำประพันธ์ในข้อใดไม่ปรากฏลักษณะของการอุปมา
ก. แลธุลีกลัดกลุ้ม เกลื่อนเพี้ยงจักรผัน
ข. ถนัดดั่งภูผาหลวง ตกต้อง
ค. หอบธุมางค์จางจ้า จรัสด้าวแดนสมร
ง. ดู บ่ รู้จักหน้า หนึ่งสิ้นแสงไถง แลนา
“เร่งคำรนเรียกมัน ชันหูชูหางแล่น แปร้นแปร๋แลคะไขว่ บาทย่างใหญ่ดุ่มด่วน ป่วนกิริยาร่าเริง บำเทิงมันครั่นครึก”
คำประพันธ์ข้างต้นปรากฏจินตภาพในด้านใดเด่นชัดมากที่สุด
ก. จินตภาพด้านการเคลื่อนไหว
ข. จินตภาพด้านเสียง
ค. จินตภาพด้านภาพ
ง. จินตภาพด้านอารมณ์
คำไวพจน์ในข้อใดไม่ได้มีความหมายลักษณะเดียวกันทุกคำ
ก. ดัสกร เสี้ยน ริปู ไพรี
ข. หัสดิน หัสดี กรี คชสาร
ค. ธุมางค์ ธุมาการ สุงสุมาร ไถง
ง. นฤบดี ภูวไนย ภูธเรศ เจ้าช้าง
“พระศรีสารีริกธาตุ ไขโอภาสโศภิต ช่วงชวลิตพ่างผล ส้มเกลี้ยงกลกุก่อง ฟ่องฟ้าผ่ายทักษิณ ผิดแวดวงตรงทัพ
นำคำรบสามครา เป็นทักษิณาวรรตเวียน ว่ายฉวัดเฉวียนอัมพร ผ่านไปอุดรโดยด้าว” คำที่ขีดเส้นใต้คือทิศใดตามลำดับ
๑. ก. ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ข. ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก
ค. ทิศเหนือ ทิศใต้
ง. ทิศใต้ ทิศเหนือ
คำประพันธ์ในข้อใดพรรณนาภาพแตกต่างจากข้ออื่น
ก. บาทย่างใหญ่ดุ่มด่วน ป่วนกิริยาร่าเริง บำเทิงมันครั่นครึก เข้าสู้ศึกโรมราญ
ข. เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค ตากเต็มท่งแถวเถื่อน เกลื่อนกล่นแสนยาทัพ
ค. สองคชชนชาญเชี่ยว เรี่ยวรณรงค์เริงแรง แทงถีบฉัดตะลุมบอน
ง. ตรงเข้าถีบเข้าแทง ด้วยแรงมันแรงกาย หงายงาเสยสารเศิก
เหตุที่กล่าวถึงในคำประพันธ์มีความหมายตรงกับข้อใด
“เหตุนี้ผิวเช้าชั่ว ฉุกเข็ญ
เกิดเมื่อยามเย็นดี ดอกไท้
อย่าขุ่นอย่าลำเค็ญ ใจเจ็บ พระเอย
พระจักลุลาภได้ เผด็จเสี้ยนศึกสยาม”
ก. พระสุบินนิมิตของพระมหาอุปราชา
ข. พระสุบินของพระนเรศวร
ค. ลมเวรัมภาพัดฉัตรหักที่พนมทวน
ง. พระบรมสารีริกธาตุเวียนทักษิณาวรรต
“นครรามินทร์” หมายถึง ดินแดนใด
ก. กรุงหงสาวดี
ข. กรุงศรีอยุธยา
ค. เมืองกาญจนบุรี
ง. ไม่ปรากฏ
คำประพันธ์ในข้อใดสื่อถึงพระนเรศวร
ก. คชยานขัตติเยศเบื้อง ออกถวัลย์
ข. คำนึงนฤบดินทร์ ปิตุเรศ พระแฮ
ค. นฤบดีโถมถีบสู้ ศึกธาร
ง. หัสดินปิ่นธเรศไท้ โททรง
ข้อใดสอดคล้องกับคำประพันธ์ต่อไปนี้
“หัสดีรณเรศอ้าง อวสาน นี้นา
นับอนาคตกาล ห่อนพ้อง”
ก. การรบโดยใช้อาวุธ
ข. การทำพิธีไสยศาสตร์
ค. การทำพิธีตัดไม้ข่มนาม
ง. การทำศึกยุทธหัตถี
ผู้ใดโปรดให้คณะแพทย์หลวงรวบรวมตำราการแพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทยไว้
ก. รัชกาลที่ ๓
ข. รัชกาลที่ ๔
ค. รัชกาลที่ ๕
ง. รัชกาลที่ ๖
โรงเรียนแพทย์แห่งแรกที่ได้ใช้ตำราแพทย์หลวงชื่อ “ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” คือโรงเรียนใด
ก. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ข. โรงเรียนราชแพทยาลัย
ค. โรงเรียนเวชสโมสร
ง. โรงเรียนหอวัง
ใครคือผู้ริเริ่มการจัดพิมพ์ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ คือข้อใด
ก. พระยาอนุมานราชธน
ข. พระยาพิศณุประสาทเวช
ค. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ง. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงเรื่องใด
ก. ความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติของแพทย์
ข. วิธีสังเกตธาตุในร่ายกายและการสังเกตโรค
ค. วิธีการสังเกตสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้รักษาได้
ง. บทไหว้ครูอันมีพระรัตนตรัย เทพเจ้า และครูแพทย์
ข้อใดมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์ฉันทศาสตร์
ก. การรักษาอาการของโรคระบาดชนิดต่าง ๆ
ข. วิธีการรักษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
ค. การปรับสมดุลธาตุในร่างกายด้วยสมุนไพร
ง. จรรยาบรรณแพทย์ในการรักษาโรค
คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์ใดโดดเด่นที่สุด
“จะกล่าวคัมภีร์ฉัน ทศาสตรบรรพ์ที่ครูสอน
เสมอดวงทินกร แลดวงจันทร์กระจ่างตา”
อุปมา
อุปลักษณ์
สัทพจน์
อติพจน์
คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์ใดเด่นที่สุด
“ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา”
อุปมา
อุปลักษณ์
อัพภาส
อติพจน์
“หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา” จากคำประพันธ์ดังกล่าว หนทางทั้งสามแห่ง ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. หัวใจ น้ำดี ปอด
ข. หัวใจ ตับ น้ำดี
ค. หัวใจ แพทย์ อาหาร
ง. หัวใจ น้ำดี อาหาร
คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์ใดเด่นที่สุด
“อุทธัจจังอย่าอุทธัจ เห็นถนัดในโรคา
ให้ตั้งตนดังพระยา ไกรสรราชเข้าราวี”
อุปมา
อุปลักษณ์
สัทพจน์
อติพจน์
ข้อใดเป็นพฤติกรรมของแพทย์ที่เหมาะสมที่สุด
ก. บางหมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ
ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการยา
ข. บางพวกก็ถือตน ว่าคนไข้อนาถา
ให้ยาจะเสียยา บ ห่อนลาภจะพึงมี
ค. บางกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพลัน
หวังลาภจะเกิดพลัน ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา
ง. ศีลแปดแลศีลห้า เร่งรักษาสมาทาน
ทรงไว้เปนนิจกาล ทั้งไตรรัตน์สรณา
การกระทำของแพทย์ในข้อใดไม่ได้ระบุไว้ในคัมภีร์ฉันท์ศาสตร์
ก. อกุศลมูล ๓ (โลภะ โทสะ โมหะ)
ข. วิจิกิจฉา
ค. อุเบกขา
ง. หิริโอตตัปปะ
คำประพันธ์ในข้อใดใช้ภาพพจน์แตกต่างจากข้ออื่น
ก. ปิตตํคือวังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
ข. อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา
ค. ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม
ง. ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร
เลือกลำดับคำประพันธ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ และมีใจความสมบูรณ์
๑) โรคน้อยให้หนักไป ๒) บ้างรู้แต่ยากวาด ๓) บาปที่ลับอย่าพึงทำ
๔) ดังก่อกรรมให้ติดกาย ๕) เที่ยวอวดอาดไม่เกรงภัย ๖) สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย
๑. ก. ๑ ๕ ๖ ๔
ข. ๒ ๕ ๑ ๔
ค. ๒ ๓ ๔ ๖
ง. ๑ ๖ ๔ ๕
“ตรีโทษ” หมายถึงอาการลักษณะใด
ก. อาการไข้หนักมาก กำเดา เหงื่อ เสมหะเป็นพิษ
ข. อาการไข้หนักมาก เลือด ลม เสมหะเป็นพิษ
ค. อาการไข้หนักมาก อุณหภูมิลดลงฉับพลัน
ง. อาการที่น้ำดี ตับ ไต เป็นพิษพร้อมกัน
ข้อใดสะท้อนความเชื่อของคนไทยที่ปรากฏในคัมภีร์ฉันทศาสตร์
ก. เห็นโทษเข้าเป็นตรี จึ่งออกตัวด้วยตกใจ
ข. บางทีก็ยาชอบ แต่เคราะห์ครอบจึ่งหันหวน
ค. ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน
ง. ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
Explore all questions with a free account