No student devices needed. Know more
90 questions
ปิโตรเลียม มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ
Petro + Oleum
Petra + Oleum
Petro + Leum
Petra + Olium
เพทรา (Petra) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า
Rock
Oil
Stone
Fat
โอลิอุม (Oleum) มาจากภาษาละติน แปลว่า
น้ำมัน
ไขมัน
ธรรมชาติ
เชื้อเพลิง
ปิโตรเลียม มีความหมายว่า
ไขมันที่ได้จากถ่านหิน
ไขมันที่ได้จากหิน
น้ำมันที่ได้จากหิน
เชื้อเพลิงที่ได้จากหิน
ปิโตรเลียมปรากฏอยู่ทั้งในสถานะของเหลวและแก๊ส ในสถานะของเหลว เรียกว่า
น้ำมันดิน
น้ำมันดิบ
น้ำมันหิน
น้ำมันเชื้อเพลิง
ปิโตรเลียมปรากฏอยู่ทั้งในสถานะของเหลวและแก๊ส ในสถานะแก๊ส เรียกว่า
แก๊สธรรมชาติ
แก๊สปิโตรเลียม
แก๊สธรรมชาติ หรือแก๊สปิโตรเลียม
แก๊สหุงต้ม
ในน้ำมันดิบ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น
แอลเคน แอลคีน แอลไคน์
แอลเคน ไซโคลแอลเคน อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
แอลเคน ไซโคลแอลคีน อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
แอลคีน ไซโคลแอลเคน อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
แอลเคน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
แนฟทีน
พาราฟิน
แนฟทา
เมตา
ไซโคลแอลเคน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
พาราฟิน
แนฟทีน
แนฟทา
แนฟทาลีน
องค์ประกอบหลักในแก๊สธรรมชาติ เป็นสารประกอบ HC ที่มี C ในโมเลกุลเท่่าใด
1 - 5 อะตอม
1 - 4 อะตอม
1 - 6 อะตอม
1 - 10 อะตอม
สารประกอบที่ไม่ใช่สารประกอบ HC ที่พบในแก๊สธรรมชาติ คือ
N2(g) CO2(g) H2S(g)
N2O(g) CO2(g) H2S(g)
N2(g) CO(g) H2S(g)
NO2(g) CO2(g) H2S(g)
แก๊สธรรมชาติที่มีสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า
แก๊สธรรมชาติ
แก๊สธรรมชาติเหลว
แก๊สธรรมชาติของเหลว
แก๊สน้ำมันดิบ
การที่น้ำมันลอยอยู่เหนือน้ำ เพราะ
ความหนาแน่นมากกว่าน้ำ
ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
ความหนาแน่น = 0
ความหนาแน่นเท่ากับน้ำ
ข้อใดเป็นหินชั้นกักเก็บปิโตรเลียม
หินดินดาน
หินทราย
หินอ่อน
หินปูน
การเปลี่ยนแปลงของซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันเป็นระยะเวลานานๆ แล้วเกิดการแยกสลาย ภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจน
ทำให้สารอินทรีย์ในซากพืชซากสัตว์กลายเป็นสารในข้อใด
ก. น้ำมันดิบ
ข. แก๊สธรรมชาติ
ค. แก๊สปิโตรเลียม
ง. ถูกทุกข้อ
หินดินดาน จัดเป็นหินประเภทใด
ดินตะกอน
หินตะกอน
หินแปร
หินอัคนี
1. ซากพืชทับถมกันเป็นเวลานาน ลักษณะแข็งและเปราะ
2. ซากสัตว์ขนาดเล็กทับถมกันเป็นเวลานาน เป็นของเหลวข้น
3. ซากพืช ซากสัตว์เน่าเปื่อยทับถมกันเป็นเวลานาน มีทั้งของเหลว
และแก๊ส
4. ซากพืช ซากสัตว์เน่าเปื่อยทับถมกันเป็นเวลานาน ลักษณะเป็น
ของเหลวข้น
ข้อใดหมายถึงการเกิดปิโตรเลียม
1
2
3
4
ภายในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม จะมีชั้นของสารต่าง ๆ เรียงลำดับจากบนลงล่าง อย่างไร
น้ำ น้ำมันดิบ แก๊ส
น้ำมันดิบ น้ำ แก๊ส
น้ำมันดิบ แก๊ส น้ำ
แก๊ส น้ำมันดิบ น้ำ
ข้อต่อไปนี้เป็นขั้นตอนของการสำรวจปิโตรเลียม ยกเว้น
การสำรวจทางธรณีวิทยา
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
การเจาะสำรวจ
การกลั่นน้ำมัน
การเก็บตัวอย่างผิวดินและวิเคราะห์ตัวอย่างหินจากผิวดิน จัดเป็นการกระทำการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมตามข้อใด
การเจาะสำรวจ
การเจาะหลุมผลิต
การสำรวจทางธรณีวิทยาพื้นผิว
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
ข้อใดไม่ใช่การสำรวจพื้นผิว
เก็บตัวย่างหิน
ศึกษาลักษณะหิน
วิเคราะห์ซากพืช ซากสัตว์ที่อยู่ในหิน
วัดความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก
ข้อต่อไปนี้เป็นการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ทุกข้อ ยกเว้นข้อใด
การวัดค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก
การวัดค่าความโน้มถ่วงของโลก
การวัดคลื่นไหวสะเทือน
การทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
บริเวณใดมีการสำรวจพบแหล่งน้ำมันดิบครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2464
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
อ่าวไทย
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
ข้อใดเป็นแหล่งที่ตั้งของน้ำมันดิบเพชรจากแหล่งสิริกิติ์
อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
แหล่งสะสมปิโตรเลียมขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน คือ
บริเวณอ่าวเปอร์เซีย
อเมริกากลาง
อเมริกาเหนือ
ไนจีเรีย
หน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำมันดิบ คือ
บาร์เรล (Barrel)
ลูกบาศก์ฟุต (Cubic feet)
แกลลอน (Gallon)
ลิตร (Liter)
หน่วยที่ใช้วัดปริมาตรของแก๊สธรรมชาติ คือ
บาร์เรล (Barrel)
ลูกบาศก์ฟุต (Cubic feet)
ลิตร (Liter)
แกลลอน (Gallon)
1 บาร์เรล = ? แกลลอน
42 แกลลอน
158.987 แกลลอน
19 แกลลอน
60 แกลลอน
ไซโคลแอลเคน มีชื่อเรียกอีกว่าอย่างไร
ก. แนฟทีน
ข. ไซโคลพาราฟิน
ค. แนฟทา
ง. ข้อ ก และ ข ถูก
เมทิลเบนซีน มีชื่อสามัญว่าอย่างไร
โทลูอีน
ฟีนอล
อะนิลีน
ไซลีน
น้ำมันที่มีสารประกอบอินทรีย์ของกำมะถันปะปนอยู่ เรียกว่า
sour crude oil
sweet crude oil
salt crude oil
bitter crude oil
น้ำมันที่มีสารประกอบอินทรีย์ของกำมะถันน้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยมวล เรียกว่า
sweet crude oil
sour crude oil
salt crude oil
bitter crude oil
เหตุผลข้อใดที่ต้องกลั่นน้ำมันดิบก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์
ก. น้ำมันดิบมีสารหลายชนิดปนกันอยู่
ข. เพื่อแยกสารต่างๆ ในน้ำมันดิบออกจากกันเพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน
ค. เพราะต้องการแยกสารที่อยู่ในน้ำมันดิบให้ออกมาเป็นสารบริสุทธิ์
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ข้อใดเป็นวิธีการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมในขั้นต้น
การเจาะหลุมเพื่อผลิต
การสำรวจโดยการเจาะ
การสำรวจทางธรณีวิทยา
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
การสำรวจในข้อใดที่จัดเป็นวิธีการสำรวจทางธรณีวิทยาทุกวิธี
การถ่ายภาพทางอากาศ การวัดค่าความโน้มถ่วงของโลก
การวัดค่าความโน้มถ่วงของโลก การวัดคลื่นความไหวสะเทือน
การถ่ายภาพทางอากาศ การถ่ายภาพทางดาวเทียม และดูแผนที่
การวัดความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก รายงานทางธรณีวิทยา
การเก็บตัวอย่างผิวดินและวิเคราะห์ตัวอย่างหินจากผิวดิน จัดเป็นการกระทำการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมตามข้อใด
การเจาะสำรวจ
การเจาะหลุมผลิต
การสำรวจทางธรณีวิทยาพื้นผิว
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
ปิโตรเลียม ส่วนใหญ่เป็น
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนผสมกันหลายชนิด
ของผสมระหว่างไขมันและน้ำมัน
ของผสมระหว่างแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์
การสำรวจในข้อใดที่ทำให้ทราบถึงขนาดและขอบเขตของแหล่งปิโตรเลียม
ใช้ภาพถ่ายทางอากาศ
ทางธรณีฟิสิกส์
ทางดาวเทียม
ทางธรณีวิทยา
กระบวนการแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบ เรียกว่า
การกลั่นลำดับส่วน
การกลั่นด้วยไอน้ำ
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยไอน้ำ
อุณหภูมิของเตาเผาของการแยกน้ำมันดิบ คือ
320 - 385 oC
350 - 485 oC
380 - 405 oC
420 - 485 oC
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลสูงมาก ได้แก่
น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น ยางมะตอย
น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด
แก๊สหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล
น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ยางมะตอย
ผลิตภัณฑ์ในข้อใดที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งมีจำนวน C อะตอมน้อยที่สุด
ไข
น้ำมันเตา
น้ำมันก๊าด
แก๊สปิโตรเลียม
ข้อความเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันดิบ ข้อใดถูกต้อง
สารที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบไม่ใช่สารบริสุทธิ์
การกลั่นน้ำมันดิบจะใช้วิธีค่อย ๆ ให้ความร้อนเพื่อให้สารที่มีจุดเดือดต่ำจะแยกออกมาก่อน
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหอกลั่นชั้นบนสุดจะมีจุดเดือดสูง
ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมันดิบ พบว่าน้ำมันก๊าด มีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน
ลำดับจุดเดือดเรียงจากสูงไปหาต่ำของ HC ที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียมต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง
น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน
พาราฟิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล แก๊สปิโตรเลียม
น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล แก๊สปิโตรเลียม
พาราฟิน ยางมะตอย น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน
สารใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
น้ำมันเบนซิน
น้ำมันก๊าด
เอทิลีนคลอไรด์
ยางมะตอย
ในการกลั่นลำดับสว่นของน้ำมันปิโตรเลียม ส่วนต่าง ๆ ที่ออกมาจะมีจุดเดือดเรียงตามลำดับจากน้อยไปหามาก คือ
แก๊สหุงต้ม น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน
น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน แก๊สหุงต้ม
แก๊สหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล
แก๊สหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด
โรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งมีหอกลั่น ซึ่งแบ่งระดับเป็น 6 ชั้น สูงชั้นละ 100 เมตร เพื่อเก็บผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเดือดต่างกัน เมื่อให้ความร้อนทางด้านล่างของหอกลั่น อุณหภูมิระดับบนจะลดลง 0.8 oC ต่อความสูงทุกๆ 1 เมตร ถั้าต้องการนำมันดีเซลที่มีจุดเดือดในช่วง 240 - 320 oC ให้ออกในชั้นที่ 4 จะต้องให้อุณหภูมิที่ด้านล่างสุดของชั้นที่ 1 เป็นกี่ oC
560
640
740
760
สารในข้อใดไม่ใช่สารที่แยกได้จากน้ำมันปิโตรเลียม
น้ำมันก๊าด
น้ำมันหล่อลื่น
แก๊สโซลีน
ทาร์
ข้อใดเรียงสารผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมจากจุดเดือดสูงไปต่ำได้ถูกต้อง
บิทูเมน แนฟทา น้ำมันก๊าด แก๊สปิโตรเลียม
น้ำมันก๊าด ดีเซล เบนซิน แก๊สปิโตรเลียม
บิทูเทน ไข ดีเซล แนฟทา
น้ำมันเตา ดีเซล น้ำมันหล่อลื่น แนฟทา
ไฮโดรคาร์บอนส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบต่อไปนี้ สารใดมีจุดเดือดสูงที่สุด
น้ำมันดีเซล
น้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันเบนซิน
น้ำมันเตา
เลขซีเทน หมายถึงข้อใด
ตัวเลขที่ใช้บอกคุณภาพของน้ำมันดีเซล
เตัวเลขที่เปรียบเทียบการกระตุกของเครื่องยนต์
ค่าที่บอกมวลโมเลกุลของน้ำมันดีเซลทุกชนิด
ตัวเลขที่ใช้เป็นเกณฑ์ที่จะปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน
การกำหนดคุณภาพของน้ำมันดีเซล สารใดจะมีเลขซีเทนสูงสุด และต่ำสุด ตามลำดับ
แอลฟาเมทิลแนฟทาลีน ซีเทน
ซีเทน แอลฟาเมทิลแนฟทาลีน
ออกเทน แอลฟาเมทิลแนฟทาลีน
แอลฟาเมทิลแนฟทาลีน ออกเทน
การเพิ่มขึ้นของจุดเดือดของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้
ข้อใดถูกต้อง
1. น้ำมันเบนซิน
2. น้ำมันดีเซล
3. น้ำมันก๊าด
4. น้ำมันเตา
5. น้ำมันหล่อลื่น
1 < 2 < 3 < 4 < 5
3 < 1 < 2 < 4 < 5
1 < 3 < 2 < 5 < 4
1 < 2 < 3 < 5 < 4
ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับน้ำมันเบนซิน
จัดเป็นแนฟทาเบา
เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 6–12 อะตอม
ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่น
ปัจจุบันมีการเติมน้ำมันพืชในน้ำมันเบนซินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเผาไหม้
น้ำมันเบนซินที่กลั่นได้และปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการทางเคมีแล้ว แต่ยังไม่ได้เติมสารเพิ่มเลขออกเทน ส่วนใหญ่มีเลขออกเทนไม่เกินร้อยละเท่าใด
65
75
85
95
วิธีใดเป็นการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเบนซิน โดยไม่ทำให้โครงสร้างของโมเลกุลเปลี่ยนแปลง
เติม MTBE
รีฟอร์มมิ่ง
แอลคิเลชัน
โอลิโกเมอไรเซชัน
สารใดที่ใช้เติมในแก๊สธรรมชาติหรือแก๊สปิโตรเลียมเหลวเพื่อให้มีกลิ่นเตือนกรณีเกิดการรั่วของแก๊ส
CH3–SH และ C2H5–SH
MTBE
แอลฟาเมทิลแนฟทาลีน
(C2H5)4Pb
บิทูเมน เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ นำไปใช้ประโยชน์ในข้อใด
ก. ใช้เป็นเชื้อเพลิง
ข. ใช้ทำยางมะตอย
ค. ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดผิดสำหรับกระบวนการแตกสลาย
ในอุตสาหกรรมมักทำให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นที่อุณหภูมิไม่สูงนัก แต่ต้องมีตัวคะตะไลส์
ผลิตภัณฑ์ที่ได้บางชนิดอาจเป็นสารประกอบไม่อิ่มตัว
ในปฏิกิริยานี้อาจมีปฏิกิริยาการสูญเสียไฮโดรเจนเกิดขึ้นด้วย
แอลเคนที่โมเลกุลเป็นสายมีสาขาจะถูกเปลี่ยนเป็นแอลเคนที่โมเลกุลเป็นโซ่ตรง ซึ่งใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์
ข้อความใดผิด
รีฟอร์มมิ่งเป็นวิธีการเปลี่ยน HC โซ่ตรงเป็นไอโซเมอร์ที่มีโซ่กิ่ง
สารประกอบอะโรมาติกเกิดขึ้นโดยการให้ความร้อนและใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแก่ HC แบบวง
โอลิโกเมอไรเซชัน เป็นวิธีการรวม HC ไม่อิ่มตัวโมเลกุลเล็กเข้าด้วยกัน จัดเป็นปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม
แอลคิเลชันเป็นการรวมโมเลกุลของแอลเคนกับแอลคีนโดยมีตัวเร่ง เกิดเป็นแอลเคนโซ่กิ่ง
การปรับปรุงโครงสร้างของโมเลกุลให้ได้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพดีขึ้น โดยปฏิกิริยาการรวมโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวโมเลกุลเล็ก ๆ ให้มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น เรียกว่า
สะปอนนิฟิเคชัน
เอสเทอริฟิเคชัน
แอลคิเลชัน
โอลิโกเมอไรเซชัน
การปรับปรุงโครงสร้างของโมเลกุลให้ได้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพดีขึ้น โดยปฏิกิริยาการรวมโมเลกุลของแอลเคนกับแอลคีน เรียกว่า
สะปอนนิฟิเคชัน
เอสเทอริฟิเคชัน
แอลคิเลชัน
โอลิโกเมอไรเซชัน
เชื้อเพลิงที่ใช้ในครัวเรือนทั่ว ๆ ไป นั้นเป็นผลิตภัณฑ์จากข้อใด
แก๊สมีเทน
แก๊สอีเทน
แก๊สโซลีน
แก๊สปิโตรเลียมเหลว
องค์ประกอบในแก๊สธรรมชาติ มีสารชนิดใดที่มีปริมาณค่อนข้างสูงกว่าแก๊สชนิดอื่น ๆ
มีเทน
อีเทน
โพรเพน
บิวเทน
นักเรียนจะมีวิธีการใดในการกำจัดแก๊ส CO2 และ H2O ตามลำดับ
ต้มกับเบส , ใช้ตัวดูดซับน้ำ
ผ่านแก๊ส CO2 ลงใน K2CO3 , ใช้ตัวดูดซับน้ำ
ผ่านแก๊ส CO2 ลงใน K2CO3 , ผ่านไอน้ำเข้าไปในสารที่มีรูพรุนสูง
ลดอุณหภูมิ เพิ่มความดัน , ผ่านไอน้ำเข้าไปในสารดูดซับที่มีรูพรุนสูง
สารประกอบในข้อใดที่มีเลขซีเทนเท่ากับ 100
CH3–(CH2)5–CH3
CH3–(CH2)14–CH3
CH3–CH2–CH2–CH3
สารประกอบในข้อใดที่มีเลขซีเทนเท่ากับ 0
CH3–(CH2)5–CH3
CH3–(CH2)14–CH3
CH3–CH2–CH2–CH3
สารในข้อใดไม่เป็นมาตรฐานในการกำหนดเลขออกเทน
CH3(CH2)14CH3
C(CH3)3CH2CH(CH3)2
2 , 2 , 4 – trimethyl pentane
ปฏิกิริยาทั้งสามมีชื่อเรียกว่าอย่างไรตามลำดับ
รีฟอร์มมิ่ง โอลิโกเมอไรเซชัน แอลคิเลชัน
รีฟอร์มมิ่ง รวมตัว รวมตัว
โอลิโกเมอไรเซชัน แอลคิเลชัน รีฟอร์มมิ่ง
รีฟอร์มมิ่ง รวมตัว แอลคิเลชัน
แก๊สโซฮอล์ (Gasohol) หรือเบนโซฮอล์ (Benzohol) เป็นของผสมระหว่างสารใด
เมทานอล กับ น้ำมันดีเซล
เมทานอล กับ น้ำมันเบนซิน
เอทานอล กับ น้ำมันเบนซิน
เอทานอล กับ น้ำมันดีเซล
ในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่มีทั้งน้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติและน้ำ เราจะพบว่า มีการแยกชั้นกันอย่างไร เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง
แก๊ส น้ำ น้ำมัน
น้ำมัน น้ำ แก๊ส
น้ำมัน แก๊ส น้ำ
แก๊ส น้ำมัน น้ำ
เมื่อนำน้ำมันดีเซลผสมกับเอทานอล จะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีชื่อเรียกว่า
ไบโอดีเซล
แก๊สโซฮอล์
ดีเซลฮอล์
ดีโซฮอล์
เครื่องยนต์ในข้อใดที่เหมาะกับน้ำมันดีเซลหมุนช้า
รถปิ๊กอัพ
รถบรรทุก
เรือประมง
รถโดยสาร
เครื่องยนต์ในข้อใดที่เหมาะกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
เรือเดินสมุทร
รถบรรทุก
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่
รถเก๋ง
น้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์ทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์โดยมีกรดหรือเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้เอสเทอร์กับกลีเซอรอล เรียกกระบวนการนี้ว่า
ทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน
ซิสเอสเทอริฟิเคชัน
โอลิโกเมอไรเซชัน
แอลคิเลชัน
น้ำมันดีเซล B5 คือเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ประกอบด้วย
น้ำมันดีเซลร้อยละ 95 และไบโอดีเซล (B100) ร้อยละ 5
น้ำมันดีเซลร้อยละ 5 และไบโอดีเซล (B100) ร้อยละ 95
น้ำมันเบนซินร้อยละ 95 และไบโอดีเซล (B100) ร้อยละ 5
น้ำมันเบนซินร้อยละ 5 และไบโอดีเซล (B100) ร้อยละ 95
สารที่ไม่จัดเป็นไฮโดรคาร์บอน ที่มีอยู่มากที่สุดในแก๊สธรรมชาติคือสารใด
CO2
H2S
Hg
N2
ในกระบวนการแยกแก๊สธรรมชาติ เพราะเหตุใดจึงต้องแยกแก๊ส CO2 ออกก่อน
เพราะแก๊ส CO2 มีจุดเดือดต่ำกว่าไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ
เพื่อป้องกันการอุดตันของท่อ เนื่องจากการเป็นของแข็งเมื่อลดอุณหภูมิ
เพื่อต้องการแยกแก๊ส CO2 ไปทำน้ำแข็งแห้ง
เพราะแก๊ส CO2 ละลายน้ำกลายเป็นกรด จะทำให้อุปกรณ์สึกกร่อน
การแยกแก๊สธรรมชาติ ขั้นตอนใดจัดเป็นขั้นตอนแรก
การกำจัดปรอท
การกำจัดแก๊ส CO2
การแยกแก๊สเหลวออกก่อน
การแยกส่วนที่ไม่ใช่ไฮโดรคาร์บอน
ข้อใดเป็นแก๊สธรรมชาติอัด
NGV
CNG
LNG
LPG
การนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมันดิบหรือแก๊สธรรมชาติมาผลิตเป็นสารโมเลกุลเล็ก ๆ จัดเป็นอุตสาหกรรมใด
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์
สารในข้อใดจัดเป็นสารประกอบมอนอเมอร์ทุกชนิด
อีทีน สไตรีน
อีเทน มีเทน
โพรเพน อีเทน
เส้นใย พลาสติก
ผลิตภัณฑ์ในข้อใดจัดเป็นสารตั้งต้นหรือสารสำคัญในอุตสาหกรรมยางและสี ตามลำดับ
พอลิเอทิลีน บิวทาไดอีน
เอทิลีนไกลคอล พอลิยูรีเทน
สไตรีนบิวทาไดอีน พอลิยูรีเทน
พอลิยูรีเทน สไตรีนบิวทาไดอีน
เมื่อนำแก๊สเอทิลีน (CH2=CH2) มาทำให้ร้อนที่อุณหภูมิ 100–300 °C ภายใต้ความดันสูง ๆ และมีความเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม ดังสมการ สารผลิตภัณฑ์ที่ได้ คืออะไร
พอลิสไตรีน
พอลิเอทิลีน
พอลิไวนิลคลอไรด์
พอลิยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์
ข้อใดเป็นผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง
ถุงพลาสติก ท่อน้ำ ยางรถยนต์
เอทิลีน โพรพิลีน โทลูอีน
เชือก ผงซักฟอก เครื่องนุ่งห่ม
พอลิเอทิลีน พีวีซี เอทิลีนไกลคอล
ข้อใดเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น
การผลิตเอทิลีนและโพรพิลีนจากอีเทนและโพรเพนตามลำดับ
การผลิตพอลิเอทิลีนจากเอทิลีน
การผลิตพอลิเมอร์จากสารมอนอเมอร์ เช่น การผลิตยางรถยนต์
การผลิตยางสังเคราะห์ SBR จากสารมอนอเมอร์
ข้อใดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น
[–CH2–CH2–]n
CH4
C3H8
ข้อใดจัดเป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่องทุกสาร
C2H6 , C3H8
C4H8 , C5H12
ข้อใดเป๋็นผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นทั้งหมด
เอทิลีน โพรพิลีน เบนซีน โทลูอีน ไซลีน
เอทิลีน เอทิลีนไกลคอล สไตรีน ฟีนอล กรดเทเรฟทาลิก
โพรพิลีน เบนซีน สไตรีน โทลูอีน ไซลีน
เอทิลีน โพรพิลีน เบนซีน โทลูอีน ฟีนอล
ข้อใดเป็นผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลายทั้งหมด
พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิคาร์บอเนต
เส้นใยอะคริลิก เส้นใยพอลิเอสเทอร์ ไนลอน
ยางบิวทาไดอีน ยางสไตรีนบิวทาไดอีน ยางนีโอพรีน
ยางไออาร์ ยางไอโซพรีน ยางนีโอพรีน
Explore all questions with a free account