No student devices needed. Know more
20 questions
๑. ข้อใดเป็นการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
ก. กำหนดมาตรฐานการศึกษา ดำเนินการพัฒนาการศึกษา ประเมินผล และตรวจสอบ ติดตามผลการดาเนินการ รายงานผลการประเมินตนเอง
ข. กำหนดมาตรฐานการศึกษา ทำแผนพัฒนาการศึกษา ดำเนินการตามแผน ประเมินผลและตรวจสอบ ติดตามผลการดาเนินการ รายงานผลการประเมินตนเอง
ค. กำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ทำแผนพัฒนาการศึกษา ดำเนินการตามแผน ประเมินผล และตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินการ รายงานผลการประเมินตนเอง
ง. กำหนดมาตรฐานการศึกษา ทำแผนพัฒนาการศึกษา ดำเนินการตามแผน ประเมินผลและตรวจสอบ รายงานผลการประเมินตนเอง ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๒. ข้อใดเป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานรับรองมาตรฐาน และ
ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ในการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
ก. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ข. ประเมินผล และติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ค. ติดตามผลการดำเนินงานการปรับปรุง และพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ง. ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษาในการ
พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
๓. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “มาตรฐานการศึกษา”
ก. เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์
ข. เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา
ค. ใช้เป็นหลักเทียบเคียงในการส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบ ประเมินผล และประกันคุณภาพการศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
๔. ข้อใดไม่ใช่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑
ก. คุณภาพของนักเรียน
ข. ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
ค. กระบวนการบริหาร และการจัดการ
ง. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕. "มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก” เป็นประเด็นการพิจารณามาตรฐานการศึกษาระดับใด
ก. ระดับปฐมวัย
ข. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ
ง. ทั้งข้อ ข และ ค
๖. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของการประเมินแบบองค์รวม
ก. มุ่งประเมินกิจกรรมในภาพรวม
ข. ต้องใช้ผู้ประเมินที่เชี่ยวชาญมีประสบการณ์
ค. ให้ความสำคัญของการประเมินแต่ละประเด็น
ง. อยู่บนพื้นฐานของร่องรอยหลักฐานที่ดำเนินงานอยู่แล้ว
๗. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการประเมินแบบองค์รวม
ก. ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย
ข. เน้นการดำเนินงานเป็นหลัก
ค. สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของสถานศึกษา
ง. มีเกณฑ์หลายด้านสำหรับบ่งชี้คุณภาพของงานจึงจะครอบคลุม
๘. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับโมเดลพิชญพิจารณ์แบบความร่วมมือ
ร่วมพลัง (collaborative peer-supported review)
ก. ผู้ประเมินมีบทบาทเหนือผู้ถูกประเมิน
ข. กระบวนการเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้
ค. เน้นการตัดสินคุณภาพตามแบบได้ตก
ง. เน้นการให้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงพัฒนาจากการวินิจฉัย
ของผู้ประเมิน
๙. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการประเมินแบบ evidence based assessment
ก. พิจารณาตัดสินคุณค่าโดยเชื่อมโยงหลักฐานกับประเด็นการประเมิน
ข. ตรวจสอบความถูกต้องน่าเชื่อถือของหลักฐาน
ค. กำหนดหลักฐานที่ใช้ในการประเมิน
ง. ระบุประเด็นการประเมิน
๑๐. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการประเมิน และตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ
ก. กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
ข. ประเมิน และตัดสินโดยวิธีการทางคณิตศาสตร์
ค. เลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน
ง. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือจาก 3 แหล่ง ทั้งเวลา สถานที่ และบุคคล
๑๑. ข้อใดคือบทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินคุณภาพสถานศึกษา
ก. มอบหมายให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ประสานคณะผู้
ประเมินเพื่อกำหนดการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา
ข. ศึกษาทำความเข้าใจรายงานประจำปี (SAR) ของ
สถานศึกษาก่อนการประเมิน
ค. ส่งรายงานผลการประเมินให้สถานศึกษารับทราบทันที
หลังตรวจประเมิน
ง. รับผิดชอบผลการประเมินเฉพาะในมาตรฐานที่ตนเอง
เป็นผู้ประเมิน
๑๒. บุคคลในข้อใดไม่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพสถานศึกษา
ก. สมชาย รายงานสิ่งที่ค้นพบตามความเป็นจริงอย่าง
ชัดเจน โดยไม่ปกปิดข้อมูลใด ๆ
ข. สมศักดิ์ รักษาความลับของสถานศึกษาที่ตนเองเป็นผู้
ประเมิน
ค. สมศรี รายงานผลการประเมินโดยปกปิดข้อมูลบางส่วน
ที่จะทำให้สถานศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง
ง. สมเกียรติ ปฏิเสธการรับของที่ระลึกที่สถานศึกษามอบ
ให้ในวันตรวจประเมิน
๑๓. ข้อมูลเชิงคุณภาพของผู้ประเมินคนใดที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในประเด็นการสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียน
ก. ผู้ประเมิน A นำข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการในครั้งแรกมาวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดไว้
ข. ผู้ประเมิน B ใช้ข้อมูลที่เก็บได้หลังจากที่ทำความสนิมสนมคุ้นเคยกับโรงเรียนแล้ว
ค. ผู้ประเมิน C เก็บข้อมูลการพูดนำเสนอความคิดเห็นของครูแต่ละคนในที่ประชุมโรงเรียน
ง. ผู้ประเมิน D ฟังข้อมูลจากครูอีกคนหนึ่งเพราะกลัวผู้อำนวยการไม่พูดตามความเป็นจริง
๑๔. จากข้อมูลต่อไปนี้สะท้อนถึงคุณลักษณะของนักเรียนในเรื่องใดมากที่สุด
“ไม่มีลิขวิดก็เอาปากกาขีด ๆ ไปก่อน เดี๋ยวส่งไม่ทันก็โดนหักคะแนนหรอก”
(นักเรียนในห้องเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, สังเกต, ๑ ธ.ค. ๕๗)
“เดี๋ยวมานะ เดี๋ยวไปยืมหนังสือวิทยาศาสตร์ของเพื่อนอีกห้องก่อน เดี๋ยวไม่ทันครูมา”
(นักเรียนในห้องเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, สังกตุ, ๓ ธ.ค. ๕๗)
ก. การแก้ปัญหา
ข. การสื่อสาร
ค. การจัดการกับความเครียด
ง. ความคิดสร้างสรรค์
๑๕. จากข้อมูลที่กำหนดให้ ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการทำสื่อประกอบการเรียนการสอนของครู
ครูเอกพล : ผมว่าบางทีก็เสียเวลานะครับ ใช้เวลาทำค่อนข้างนาน เสียเงินด้วย ทำให้เตรียมการสอนไม่ทันอีกต่างหาก
ครูอมรเทพ : เปลืองเงินมากเลยครับ กาว กระดาษ พอซื้อรวมกันหลาย ๆ อย่างก็แพงแล้วครับ
ครูวิภาวี : เป็นคนวาดรูปไม่เก่ง หัวครีเอตไม่ค่อยมีเลยค่ะ ไม่ศิลป์เลย ต้องให้เพื่อนครูช่วยทำทุกทีเลย
ครูอรวรรณ : ต้องนอนดึก ๆ ทุกทีเลยครับ นั่งตัดกระดาษทำสื่อการสอน เพราะกว่าจะเขียนแผนเสร็จก็ค่ำซะแล้ว ทำวันต่อวันเลยครับ
ก. งบประมาณ
ข. ความถนัดพื้นฐานในการทำสื่อการสอน
ค. การประเมินการทำสื่อ
ง. ความคิดสร้างสรรค์
๑๖. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
ก. ต้องตอบโจทย์ความสำเร็จของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาเมื่อครบ ๑ ปีการศึกษา
ข. สะท้อนข้อมูลว่าเป้าหมายที่สถานศึกษาตั้งไว้คืออะไร บรรลุผลสำเร็จในระดับใด
ค. รายงานด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าสถานศึกษาดำเนินการอย่างไรจึงบรรลุผลตามเป้าหมายระดับนั้น
ง. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
๑๗. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. รูปแบบการเขียนรายงานการประเมินตนเองไม่มีการกำหนดรูปแบบที่ตายตัว
ข. ผู้ประเมินต้องศึกษากรอบการประเมินให้เข้าใจอย่างชัดเจนและวางแผนการเก็บข้อมูลล่วงหน้า
ค. การประเมินภายในให้ความสำคัญกับประเด็นพิจารณาโดยประเมิน และตัดสินทีละประเด็นที่กำหนด
ง. การประเมินแบบองค์รวมเป็นการประเมินผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานที่มีความเชื่อมโยง และบูรณาการ
๑๘. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษา เก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในการประเมินคุณภาพการศึกษา
ก. ผู้ประเมินควรเก็บข้อมูลอย่างระมัดระวัง และควรมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ข. ผู้ประเมินควรศึกษาข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ และมีการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา
ค. ผู้ประเมินต้องเลือกวิธีการเก็บข้อมูลว่าจะใช้วิธีใดในแต่ละประเด็นพิจารณา ถึงจะได้คำตอบที่ตรงประเด็น และน่าเชื่อถือที่สุด
ง. ผู้ประเมินต้องทำความเข้าใจวัตถุประสงค์การประเมิน และคำจำกัดความในการประเมิน โดยแยกส่วนการประเมินแต่ละประเด็นออกจากกันให้ชัดเจนเพื่อความเป็นเอกเทศของการเก็บข้อมูลในแต่ละประเด็น
๑๙. ข้อใดสำคัญที่สุดของการให้ข้อมูลย้อนกลับ
ก. เนื้อหา และสาระ
ข. น้ำเสียง และลีลา
ค. สถานการณ์ และช่วงเวลา
ง. บทบาท และเกณฑ์เปรียบเทียบ
๒๐. ผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับในข้อใดปฏิบัติไม่เหมาะสม ในการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ก. ประจักษ์ศรี แนะนำสถานศึกษาอย่างตรงประเด็น มีความเฉพาะเจาะจงโดยเลือกที่จะพูดเชิงบวกมากกว่าการตำหนิ
ข. สังเกตวดี วางแผนการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับบทพูด และประเด็นที่ต้องการชี้แนะ รวมถึงวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา และความเป็นไปได้ในการพัฒนา
ค. สัมภาษณ์พงษ์ ให้ความสำคัญกับการมุ่งประเด็นปัญหาของตัวบุคคลมากกว่ากระบวนการ เพื่อเป็นการแก้ไขจุดบกพร่อง และพัฒนาให้ตรงจุดว่าปัญหาอยู่ที่บุคคลใดในแต่ละประเด็น
ง. เชี่ยวชาญศักดิ์ ให้ข้อมูลย้อนกลับทันที ณ วันประเมินด้วยวิธีการพูดคุยเหมือนพี่เลี้ยง ชี้แนะ และใช้คำถามกระตุ้นให้บุคลากรในสถานศึกษาร่วมกันคิดวิธีการพัฒนา
Explore all questions with a free account